dc.contributor.advisor |
บุษกร บิณฑสันต์ |
|
dc.contributor.author |
ปานตา ศรีคง |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2018-04-11T01:44:47Z |
|
dc.date.available |
2018-04-11T01:44:47Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58473 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติชีวิตของครูสมพงศ์ พิธีกรรม ความเชื่อ บทเพลงที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมและความเชื่อ วงดนตรีดนตรีกาหลอคณะครูสมพงศ์ บุญมาเกิด ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลจากการศึกษาพบว่า คณะกาหลอครูสมพงศ์เป็นคณะที่รับใช้สังคมมาเป็นเวลา 120 ปี สืบทอดมาจากรุ่นบิดาจนถึงรุ่นครูสมพงศ์ คณะได้รับการว่าจ้างไปบรรเลงหลากหลายที่ เช่น จังหวัดกระบี่ จังหวัดพัทลุง พิธีกรรมกาหลอของคณะครูสมพงศ์จะเกิดความสมบูรณ์เมื่อมีองค์ประกอบหลัก ๆ 3 อย่างเกิดขึ้นคือ พิธีกรรม คาถา และบทเพลง สามารถแบ่งพิธีกรรมกาหลอได้ออกเป็น 2 ประเภท คือพิธีกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับศพ และพิธีกรรมที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับศพ มีทั้งหมด 20 เพลง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือเพลงที่มีคาถากำกับ มีจำนวน 12 เพลง โดยการเป่าปี่พร้อมกับท่องคาถาในใจ และเพลงที่บรรเลงตามช่วงเวลาโดยไม่มีคาถากำกับ มีทั้งหมดจำนวน 8 เพลง การศึกษาบทเพลงชุดไหว้พระ คือเพลงยายแก่ขอไฟ เพลงไหว้พระ เพลงขันธ์เพชร เพลงล่อบัด เพลงลาพระ พบว่ามีการบรรเลงในกลุ่มเสียงปัญจมูลเสียง ร การบรรเลงปี่กาหลอมีการดำเนินทำนองลากเสียงยาว การดำเนินทำนองห่าง ๆ ควบคู่ไปกับการตีกลองและการบรรเลงฆ้อง |
|
dc.description.abstractalternative |
The research studied the life of Kru Sompong Boonmakerd, rituals, beliefs and songs related to Kalaw music. Qualitative methodology has been applied in this research through fieldwork interview. This study found that, Kalaw music by Kru Sompong was transmitted from his father and has served the society over 120 years. This ensemble was hired to perform mainly in the monk and the elderly funeral ceremonies in the nearby provinces such as Krabi and Phatthalung. The ritual Kalaw music of the master Sompong consisted of three elements: rituals, mantra reciting and songs. There are two types of music; one was related to the funeral while another was not. There were 20 songs in the Kalaw music which divided into 2 groups. The first 12 songs were performed with mantra reciting and the second group consisted of 8 songs without mantra reciting. The study of Wai - Phra songs showed that most song modes were in the Penta - Centric D. Kalaw oboe produced a long length of sound and performed in a slow tempo accompanied by Glong Thon drum and Gong. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.848 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
สมพงศ์ บุญมาเกิด |
|
dc.subject |
ครูดนตรี |
|
dc.subject |
ดนตรี -- แง่ศาสนา |
|
dc.subject |
Music teachers |
|
dc.subject |
Music -- Religious aspects |
|
dc.title |
พิธีกรรม และความเชื่อดนตรีกาหลอ ครูสมพงศ์ บุญมาเกิด |
|
dc.title.alternative |
Rituals and beliefs of Kalaw music by Kru Sompong Boonmakerd |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
ดุริยางค์ไทย |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.email.advisor |
Bussakorn.S@Chula.ac.th,bsumrongthong@yahoo.com |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2017.848 |
|