Abstract:
งานวิจัยนี้มุ่งเน้นประเมินการเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหวที่มีนัยสำคัญต่อการเกิด แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ตามมาในภายหลัง บริเวณรอยเลื่อนสะกาย ตอนกลางประเทศพม่า โดยใช้เทคนิคค่า Z ซึ่งหลังจากปรับปรุงคุณภาพฐานข้อมูลแผ่นดินไหวที่มีอยู่ พบว่าในบริเวณพื้นที่ศึกษามี เหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด > 3.5 ริกเตอร์ จำนวน 3,781 เหตุการณ์ ที่มีความสมบูรณ์และสื่อถึง พฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวจากธรณีแปรสัณฐานอย่างแท้จริง และเพื่อทดสอบความสัมพันธ์ ระหว่างค่า Z กับแผ่นดินไหวใหญ่ที่เกิดตามมา ผู้วิจัยได้คัดเลือกแผ่นดินไหวขนาด > 6.0 ริกเตอร์ที่ เคยเกิดขึ้นในอดีตจากรอยเลื่อนสะกาย จำนวน 8 เหตุการณ์เป็นกรณีศึกษาในการปรับเทียบตัวแปร อิสระที่เหมาะสมกับพื้นที่ศึกษา ผลการทดสอบบ่งชี้ว่าหากใช้ตัวแปรจำนวนแผ่นดินไหว N = 25 เหตุการณ์ และช่วงเวลาใน การพิจารณา T = 2 ปี จะพบค่า Z ที่สูงอย่างมีนัยสำคัญก่อนเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ดังกล่าว และจาก การประยุกต์ตัวแปรอิสระที่สรุปข้างต้นกับฐานข้อมูลแผ่นดินไหวล่าสุดที่มีอยู่จนถึงปัจจุบัน (1995- 2015) พบว่ารอยเลื่อนสะกายมีพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว 2 พื้นที่ ได้แก่ตอนเหนือใกล้เมือง เมืองมิตจีนา (Myitkyina) (Z=8.0) และทางตอนกลางของรอยเลื่อนสะกายบริเวณเมืองเนปิดอว์ (Naypyidaw) (Z=9.0) ดังนั้นจากงานวิจัยนี้จึงสรุปได้ว่ารอยเลื่อนสะกายในบริเวณใกล้เมืองมิตจีนา และเนปิดอว์มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวใหญ่อีกในอนาคต