Abstract:
ศึกษาการทดสอบแบบจำลองการประเมินการสัมผัสเพื่อประเมินความเสี่ยงของซัลโมเนลลาในผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ โดยเก็บตัวอย่างจากฟาร์มไก่เนื้อ 6 ฟาร์ม (n = 531) และโรงเชือด 2 แห่ง (n = 300) เพื่อสำรวจความเข้มข้นและความชุกซัลโมเนลลาในปัจจัยต่างๆ ด้วยวิธีการคาดประมาณ (most probable number) สร้างและทดสอบแบบจำลองโดยอาศัยความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ เพื่อทำนายความเข้มข้นและความชุกในการประเมินการสัมผัส ข้อมูลความเข้มข้นถูกวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยแบบพหุ ส่วนข้อมูลความชุกถูกวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยโลจิสติค กำหนดปัจจัยเสี่ยงที่ระดับฟาร์มไก่เนื้อและที่ระดับโรงเชือด และประเมินความสี่ยงของซัลโมเนลลาในผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ในกรณีที่แย่ที่สุด ผลการศึกษาที่ระดับฟาร์มพบอุจจาระไก่ที่ 21-28 วัน มีความเข้มข้นเฉลี่ยเท่ากับ 769.17 MPN ต่อกรัม และความชุกซัลโมเนลลาเท่ากับร้อยละ 54 ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุพบความเข้มข้นซัลโมเนลลาในกระดาษรองกล่องลูกไก่สามารถอธิบายความแปรปรวนความเข้มข้นซัลโมเนลลาในอุจาระไก่ที่ 21-28 วัน ได้ร้อยละ 44.43 (P <0.05) ผลการทดสอบการทำนายของแบบจำลองเทียบกับค่าสังเกตให้ผลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ( = 0.1) ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยโลจิสติคพบตัวแปรอิสระที่ทำการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับโอกาสเกิดความชุกซัลโมเนลลาในอุจาระไก่ที่อายุ 21-28 วัน ( = 0.05) ผลการศึกษาที่ระดับโรงเชือดพบผลิตภัณฑ์เนื้อไก่สดมีความเข้มข้นเฉลี่ยซัลโมเนลลาเท่ากับ 4.72 MPN ต่อกรัม และความชุกเฉลี่ยซัลโมเนลลาเท่ากับร้อยละ 16.67 ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุพบปริมาณน้ำล้างซากหลังถอนขน และแรงดันน้ำล้างซากนอกในสามารถอธิบายความแปรปรวนความเข้มข้นซัลโมเนลลาในผลิตภัณฑ์เนื้อไก่สดได้ถึงร้อยละ 97.24 (P <0.05) ผลการทดสอบการทำนายของแบบจำลองเทียบกับค่าสังเกตให้ผลที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ( = 0.1) ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยโลจิสติคพบตัวแปรอิสระที่ทำการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับโอกาสเกิดความชุกซัลโมเนลลาในผลิตภัณฑ์เนื้อไก่สด ( = 0.05) ผลการประเมินความเสี่ยงจากการบริโภคเนื้อไก่ปรุงสุกจากโรงงานแปรรูปที่ศึกษา พบว่าคนไทย 1 คนที่บริโภคเนื้อไก่ 40.42 กรัมต่อวันจะต้องบริโภคประมาณ 1027 ครั้ง จึงอาจเจ็บป่วยจากซัลโมเนลลาเฉลี่ยประมาณ 6 ครั้ง จัดเป็นความเสี่ยงที่ต่ำมาก สามารถยอมรับความเสี่ยงได้ตามมาตรฐานสากล