DSpace Repository

การใช้วิธีทางจุลกายวิภาคศาสตร์และวิธีอิมมูนโนฮิสโตเคมีเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงและการปรากฏของตัวรับสเตียรอยด์ฮอร์โมนในมดลูกและท่อนำไข่ในสุกรสาวที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่ : รายงานวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author ไพศาล เทียนไทย
dc.contributor.author เผด็จ ธรรมรักษ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-05-21T09:27:22Z
dc.date.available 2018-05-21T09:27:22Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58812
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาภายใต้กล้องจุลทรรศน์แสงสว่าง รวมทั้งการแสดงออกของตัวรับสเตียรอยด์ฮอร์โมนในมดลูกและท่อนำไข่สุกรสาวคัดทิ้งด้วยสาเหตุความบกพร่องทางระบบสืบพันธุ์ซึ่งพบภาวะถุงน้ำรังไข่ชนิดใบเดียว และถุงน้ำรังไข่ชนิดหลายใบ เปรียบเทียบกับสุกรสาวที่มีรังไข่ปกติ เก็บอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมียและข้อมูลของสุกรสาวจำนวน 45 ตัว โดยสุกรสาวมีรังไข่ปกติ 14 ตัว มีถุงน้ำรังไข่ใบเดียว 13 ตัว และมีถุงน้ำรังไข่หลายใบ 18 ตัว เก็บเลือดของสุกรสาวเพื่อตรวจระดับโปรเจสเตอโรน ตรวจสอบลักษณะทางมหกายวิภาคทั่วไปของรังไข่ มดลูกและท่อนำไข่ นำตัวอย่างชิ้นเนื้อมาผ่านกระบวนการทางจุลกายวิภาคศาสตร์ ศึกษาลักษณะทั่วไปและความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับชั้นเยื่อบุผิวและชั้นใต้เยื่อบุผิว ตรวจนับจำนวนของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันในชั้นเยื่อบุผิว และศึกษาการปรากฏของตัวรับทั้งเอสโตรเจนและตัวรับโปรเจสเตอโรนในมดลูกและท่อนำไข่ส่วนต่าง ๆ โดยวิธีอิมมูนโนฮิสโตเคมี จากข้อมูลเกี่ยวกับสมรรถภาพทางการสืบพันธุ์พบว่า สุกรสาวที่พบถุงน้ำรังไข่มีสาเหตุในการคัดทิ้งประกอบด้วย การไม่เป็นสัด ผสมไม่ติด หนองไหล แท้ง และสาเหตุอื่น ๆ โดยสุกรสาวที่มีถุงน้ำหลายใบถูกคัดทิ้งด้วยสาเหตุการไม่เป็นสัดถึง 50% พบภาวะมดลูกอักเสบ 44% และมีอัตราการตกไข่ต่ำลง รวมทั้งมีระดับของโปรเจสเตอโรนสูงขึ้น เมื่อตรวจสอบมดลูกของสุกรสาวกลุ่มนี้ พบว่า คะแนนการบวมน้ำ จำนวนหลอดเลือด และจำนวนเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันในชั้นเยื่อบุผิวมีค่าสูงกว่าสุกรสาวกลุ่มควบคุม และสุกรสาวที่มีภาวะถุงน้ำใบเดียวอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นภายในท่อนำไข่ส่วนต่าง ๆ ผลการศึกษาตัวรับเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนพบว่า ตัวรับของสเตียรอยด์ทั้งสองชนิดมีระดับความเข้มที่ลดต่ำลงในโครงสร้างชั้นต่าง ๆ ของมดลูกและท่อนำไข่ของสุกรสาวคัดทิ้งที่มีถุงน้ำรังไข่หลายใบอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) เปรียบเทียบสุกรสาวควบคุมและสุกรสาวที่มีถุงน้ำรังไข่ใบเดียว การศึกษาครั้งนี้บ่งชี้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาที่ผิดปกติในมดลูก ระดับความเข้มที่ลดลงของตัวรับเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในมดลูกและท่อนำไข่ รวมทั้งความแปรปรวนของฮอร์โมนที่ผลิตจากรังไข่ที่เกิดขึ้นในสุกรสาวที่มีถุงน้ำชนิดหลายใบ อาจเหนี่ยวนำหรือเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาความความบกพร่องของระบบสืบพันธุ์ในสุกรสาวได้ en_US
dc.description.abstractalternative The present study aimed to investigate the morphological alterations under light microscopy as well as the localization of steroid hormonal receptors in the uterus and oviduct of gilts culled due to reproductive failure with the presence of single cyst and multiple cysts compared with normal ovary. The genital organs and historical data were collected from 45 gilts which were classified into normal ovaries (n=14), single cyst (n=13) and multiple cysts (n=18). Blood samples were also collected from gilts for analyzing the level of progesterone. The gross morphology of the ovaries, uteruses and oviducts were evaluated. Tissue samples were routinely processed for histological examination. Histological changes of epithelium and subepithelial layers, the counting of immune cells in the epithelial layers of the uterus and all portions of the oviduct were evaluated. The expressions of estrogen and progesterone receptors were performed by immunohistochemistry. From our reproductive performance data, the culling reasons of gilts with ovarian cysts were anestrous, repeated service, abnormal vaginal discharge, abortion and miscellaneous. It was found that the gilts that had multiple cysts were culled due to anestrous up to 50.0% and the endometritis were appeared about 44%. Moreover, the ovulation rate of gilts with multiple cysts was lower, while the level of progesterone, the edematous score, the number of blood vessels, and the number of intraepithelial immune cells in the uterus of these gilts was significantly higher (p<0.05) than the gilts with single cyst and normal ovary. On the contrary, these alterations were rarely occurred in the gilt oviduct. By immunohistochemistry, the positive staining intensity of estrogen and progesterone receptors were significantly declined (p<0.05) in all uterine compartments of the gilts with multiple cysts in comparison with the control and single cyst groups. In conclusion, these findings indicate that the abnormal morphological changes in the uterus, the lower of steroid hormone receptor intensity that occur in the uterus and oviduct, and the variations of ovarian hormones of culling gilts with multiple ovarian cysts might induce or cause the reproductive disturbances in these gilts. en_US
dc.description.sponsorship กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช ประจำปีงบประมาณ 2555 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject สุกร en_US
dc.subject อิมมูโนฮีสโตเคมี en_US
dc.subject สเตียรอยด์ฮอร์โมน en_US
dc.subject มดลูก en_US
dc.subject รังไข่ en_US
dc.title การใช้วิธีทางจุลกายวิภาคศาสตร์และวิธีอิมมูนโนฮิสโตเคมีเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงและการปรากฏของตัวรับสเตียรอยด์ฮอร์โมนในมดลูกและท่อนำไข่ในสุกรสาวที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่ : รายงานวิจัย en_US
dc.title.alternative Histological and immunohistochemistry studies for the changes and the expression of steroid hormonal receptors in the uterus and oviduct of gilts with cystic ovaries en_US
dc.type Technical Report en_US
dc.email.author Paisan.T@Chula.ac.th
dc.email.author Padet.T@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record