Abstract:
ปริมาตรทางเดินหายใจจะวัดได้จากภาพรังสี 3 มิติ เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการรักษา โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อาจมีความเสี่ยงของสภาวะขาดอากาศในขณะนอนหลับ วัตถุประสงค์ เพื่อหาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยปริมาตรทางเดินหายใจระหว่างเพศหญิงและชาย ในช่วงอายุ 11 ถึง 20 ปี และหาค่าสหสัมพันธ์ของโครงสร้างกะโหลกศีรษะและใบหน้า จากตัวแปรที่ใช้คัดเลือกตาแหน่งก้ม-เงย และโครงสร้างกระดูกที่ปกติทั้งแนวราบและดิ่ง วิธีการ หาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยปริมาตรทางเดินหายใจจากเพศชาย 14 คน เพศหญิง 9 คน ด้วย independent t-test และค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปรโดยคัดเลือกมาจากค่าตัวแปรที่กล่าวมา ผลการวิจัย ไม่พบความแตกต่างของปริมาตรระหว่างเพศชายและเพศหญิง (p<0.05) ได้ค่าเฉลี่ยรวม 9.91 ± 4.02 ซม.3 และค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปรที่กล่าวแล้ว คือ SNCV2 กับ PPCV2 สาหรับตาแหน่งก้ม-เงย, SNMP and PPMP สาหรับโครงสร้างในแนวดิ่ง, ANB and APP-BPP สาหรับโครงสร้างในแนวราบ ล้วนมีความสัมพันธ์ที่ระดับนัยสาคัญ 0.01 ข้อสรุป เพศชายและเพศหญิง มีปริมาตรทางเดินหายใจไม่แตกต่างกัน และค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปรโครงสร้างกระดูกทุกค่ามีความสัมพันธ์กันที่ระดับนัยสาคัญ 0.01