Abstract:
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพตัวแทนของพระสุริโยทัยที่ปรากฏในวรรณกรรมไทยที่ประพันธ์ขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยมุ่งวิเคราะห์ภาพตัวแทนของพระสุริโยทัยที่ นำเสนอ กลวิธีการนำเสนอภาพตัวแทน และแนวคิดหรืออุดมการณ์ที่สัมพันธ์กับการประกอบ สร้างและนำเสนอภาพตัวแทนดังกล่าว ผลการวิจัยพบว่า "พระสุริโยทัย" ถูกประกอบสร้างและ นำเสนอด้วยการใช้กลวิธีของการเล่าเรื่องให้เป็นภาพตัวแทนที่มีมิติหลากหลาย ภาพตัวแทนที่ หลากหลายเหล่านี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการตีความและการให้ความหมายแก่การสิ้นพระชนม์ กลางสมรภูมิของพระสุริโยทัยที่ต่างกันไป นอกจากนี้ภาพตัวแทนพระสุริโยทัยมีส่วนสัมพันธ์กับ แนวคิดหรืออุดมการณ์บางประการในสังคมไทยภาพตัวแทนของพระสุริโยทัยในวรรณกรรมแบ่งได้เป็น ๒ กลุ่มหลัก ได้แก่ (๑) ภาพยอด ภรรยา และ (๒) ภาพวีรสตรี ในภาพหลักแต่ละกลุ่มยังมีภาพย่อยที่เน้นมิติที่แตกต่างหลากหลาย ในตัวบทวรรณกรรมเรื่องหนึ่งสามารถนำเสนอได้มากกว่าหนึ่งภาพ แต่มักจะมีเพียงภาพที่โดดเด่น ที่สุดภาพเดียวกลวิธีการประพันธ์ที่ส่งผลให้ภาพตัวแทนของพระสุริโยทัยแตกต่างกัน ได้แก่ แก่นเรื่อง ประเภทของโครงเรื่อง การนำเสนอตัวละคร มุมมองในการเล่าเรื่อง การอ้างถึงและการใช้ภาษาแนวคิดสำคัญที่สัมพันธ์กับการประกอบสร้างภาพตัวแทนของพระสุริโยทัย ได้แก่ แนวคิด เรื่องวีรบุรุษ/สตรีและแนวคิดเรื่องความเป็นผู้หญิง ที่ทำให้ภาพตัวแทนของพระสุริโยทัยสามารถ นำเสนอความคิดเรื่องสำนึกรักชาติ ความคิดเรื่องการเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์และความคิด เกี่ยวกับลักษณะของสตรีที่พึงประสงค์ของสังคม