Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาราชาศัพท์ในภาษาไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงปัจจุบัน และ ศึกษาราชาศัพท์ในภาษาเขมรตั้งแต่สมัยก่อนพระนครถึงปัจจุบัน รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างราชา ศัพท์ในภาษาไทยและภาษาเขมร ผลการศึกษาพบว่า ราชาศัพท์ในภาษาเขมรปรากฏมาตั้งแต่สมัยก่อนพระนคร มีที่มาจากภาษา สันสกฤตและภาษาเขมร มีวิธีการสร้างที่ไม่ซับซ้อน มักเป็นการยืมคาจากภาษาต่างประเทศหรือการใช้หน่วย เติม ต่อมาในสมัยพระนครจึงปรากฏวิธีการสร้างเพิ่มมากขึ้น ในสมัยกลางพบราชาศัพท์ที่มาจากภาษาบาลี และพบการใช้หน่วยเติมที่หลากหลายและซับซ้อนขึ้น ในสมัยปัจจุบันราชาศัพท์ในภาษาเขมรมีมากขึ้นและ พบคาที่มาจากภาษาไทยด้วย ส่วนวิธีการสร้างนั้นก็หลากหลายและซับซ้อนกว่าเดิม ส่วนราชาศัพท์ในภาษาไทยปรากฏในสมัยสุโขทัย พบครั้งแรกในจารึกวัดศรีชุมสมัยพระมหาธรรม ราชาที่ ๑ ลิไทย มีที่มาทั้งจากภาษาบาลีสันสกฤต ภาษาไทย ภาษาเขมร และภาษาอื่น ๆ ส่วนใหญ่เป็นการ สร้างด้วยการใช้หน่วยเติม พบทั้งหน่วยเติมหน้าและหน่วยเติมท้าย ในสมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ พบราชาศัพท์ที่มาจากภาษาอื่น ๆ ด้วย เช่น ภาษาชวา-มลายู ภาษาอาหรับ-เปอร์เซีย ส่วนใหญ่เป็นการสร้าง ด้วยการใช้หน่วยเติมหน้าและการประกอบกับราชาศัพท์ ในสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองและสมัย ปัจจุบัน วิธีการสร้างราชาศัพท์มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น อีกทั้งยังพบการสร้างด้วยการตัดหน่วยเติมหน้าด้วย
ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างราชาศัพท์ไทยและเขมรพบว่า ราชาศัพท์ไทยสมัยสุโขทัยและอยุธยา ตอนต้นได้รับอิทธิพลจากราชาศัพท์เขมรสมัยพระนคร ทั้งในด้านศัพท์และการสร้างราชาศัพท์ แต่ได้พัฒนา วิธีการสร้างเฉพาะของตน และได้ส่งอิทธิพลต่อการสร้างราชาศัพท์เขมรในสมัยกลาง นอกจากนี้ยังพบว่า ราชาศัพท์เขมรสมัยปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของการสร้างราชาศัพท์ไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา ธนบุรี และ รัตนโกสินทร์ อย่างไรก็ตาม แม้จะพบราชาศัพท์ที่ไทยและเขมรใช้ตรงกัน แต่มีจานวนไม่มาก ค วาม คล้ายคลึงกันของราชาศัพท์ไทยและเขมร จึงมิได้เกิดจากปัจจัยด้านการยืมศัพท์ แต่น่าจะเกิดจากปัจจัยด้าน การยืมการสร้างราชาศัพท์ระหว่างกัน