dc.contributor.advisor |
วิโรจน์ อรุณมานะกุล |
|
dc.contributor.author |
วีรชัย อำพรไพบูลย์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2018-06-21T07:29:30Z |
|
dc.date.available |
2018-06-21T07:29:30Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59159 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
en_US |
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาระบบอักษรเบรลล์ไทย โดยวิเคราะห์อักขระในเบรลล์ไทยและเปรียบเทียบอักขระเบรลล์ไทยกับเบรลล์อังกฤษและเบรลล์ญี่ปุ่น เนื่องจากผู้วิจัยสันนิษฐานว่าอักขระเบรลล์ไทยพื้นฐานนำมาจากอักขระในสองภาษานี้ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ในอักษรเบรลล์ไทยมีสระพื้นฐาน 5 รูป ที่มีรูปและเสียงตรงกับอักขระเบรลล์ญี่ปุ่น และมีพยัญชนะพื้นฐาน 15 รูป ที่มีรูปและเสียงใกล้เคียงกับอักขระเบรลล์อังกฤษ โดยมีการสร้างอักขระขึ้นเพิ่มเติมจากอักขระพื้นฐานเหล่านี้ด้วยการปรับเปลี่ยนจุดภายในเซลล์ และการเพิ่มอักขระเบรลล์รูปแบบเฉพาะหน้าหรือหลังอักขระที่ใช้เป็นฐาน นอกจากนี้ วิทยานิพนธ์นี้ยังได้พัฒนาโปรแกรมสำหรับถ่ายถอดอักษรเบรลล์ไทยปนอังกฤษเป็นอักษรปกติ และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของระบบที่ใช้วิธีการที่แตกต่างกัน 3 วิธี ได้แก่ การใช้กฎ การใช้แบบจำลองเอ็นแกรม และวิธีการแบบผสม โดยทดสอบกับข้อความเบรลล์ 5 ประเภท คือ ข้อความเบรลล์ไทย ข้อความเบรลล์อังกฤษรูปเต็ม ข้อความเบรลล์อังกฤษรูปย่อ ข้อความเบรลล์ไทยปนอังกฤษรูปเต็ม และข้อความเบรลล์ไทยปนอังกฤษรูปย่อ จากการทดลอง พบว่า วิธีการแบบผสมถ่ายถอดอักษรได้ถูกต้องมากที่สุดสำหรับข้อความเบรลล์ 4 ประเภท ได้แก่ ข้อความเบรลล์ไทย 99.73 % ข้อความเบรลล์อังกฤษรูปเต็ม 100 % ข้อความเบรลล์อังกฤษรูปย่อ 99.92 % และข้อความเบรลล์ไทยปนอังกฤษรูปย่อ 98.69% นอกจากนี้ผลการทดลองยังแสดงให้เห็นว่า วิธีการถ่ายถอดอักษรทั้ง 3 วิธี ให้ผลความถูกต้องไม่แตกต่างกันมากนัก |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
This dissertation aims to investigate the Thai Braille writing system, which is believed to be influenced by English and Japanese braille. The findings show that Japanese Braille and Thai Braille share five vowels similar in form and sound, while English Braille and Thai Braille share fifteen consonants with similar sounds. These shared Braille forms are basic characters, which are then extended into other Braille characters representing vowels, consonants, and tones in Thai. The extensions are made through the alternation of dots within the cell or the addition of a preceding or succeeding Braille cell. Another objective of this dissertation is to develop a program to transliterate Thai mixed with English Braille into print and compare the performances of the systems based on three methods: the rule-based, the N-gram and the hybrid. The systems were tested with five text categories, namely the Thai Braille, the uncontracted Braille, the contracted Braille, the Thai Braille mixed with uncontracted Braille and the Thai mixed with contracted Braille texts. The results reveal that the hybrid method achieves the highest accuracies for the four text categories. The results are as follows: 99.73 % for the Thai Braille texts, 100% for the uncontracted English Braille texts, 99.92% for the contracted English Braille texts and 98.69% for the Thai mixed with contracted English Braille texts. The study also shows that the three methods do not make significant differences in level of performance. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.725 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
การถอดตัวอักษร |
en_US |
dc.subject |
อักษรเบรลล์ -- การถอดตัวอักษร |
en_US |
dc.subject |
Transliteration |
en_US |
dc.subject |
Braille -- Transliteration |
en_US |
dc.title |
การพัฒนาระบบการถ่ายถอดอักษรสำหรับตัวบทเบรลล์ไทยปนอังกฤษ เป็นอักษรไทยและอังกฤษปกติโดยใช้วิธีการแบบผสม |
en_US |
dc.title.alternative |
Development of transliteration system for mixed Thai and English braille texts into Thai and English prints using a hybrid approach |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
en_US |
dc.degree.discipline |
ภาษาศาสตร์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
awirote@chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2016.725 |
|