DSpace Repository

การกักเก็บน้ำมันตะไคร้โดยใช้การอบแห่งแบบพ่นฝอย

Show simple item record

dc.contributor.advisor อภินันท์ สุทธิธารธวัช
dc.contributor.advisor ธวัชชัย ชรินพาณิชกุล
dc.contributor.author มาลินี แก้วปัญหา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-06-23T10:40:08Z
dc.date.available 2018-06-23T10:40:08Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59190
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 en_US
dc.description.abstract ตะไคร้เป็นพืชสมุนไพรที่มีการนำไปใช้ประกอบอาหารไทยกันอย่างมากโดยเฉพาะอาหาร ประเภทต้มยำ ดังนั้นจึงมีการผลิตเครื่องต้มยำออกมาในรูปผงปรุงรสสำเร็จรูป ซึ่งจะประสบปัญหา ของการนำไปใช้งานจริงเนื่องจากเกิดการเสื่อมสภาพของสารระหว่างกระบวนการผลิต ส่งผลให้ กลิ่นและรสชาติแตกต่างไปจากรสต้มยำดั้งเดิม ในงานวิจัยนี้จึงเสนอวิธีการกักเก็บน้ำมันตะไคร้ให้ อยู่ในรูปของผงอนุภาคโดยวิธีการอบแห้งแบบพ่นฝอย โดยวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือศึกษา ปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ ปริมาณน้ำมันตะไคร้ ชนิดสารห่อหุ้ม ขนาดอิมัลชันในสายป้อน และ อุณหภูมิอากาศขาเข้า ที่มีผลต่อประสิทธิภาพในกระบวนการกักเก็บน้ำมันตะไคร้ สมบัติของผง อนุภาคและความคงตัวของผงอนุภาค โดยประสิทธิภาพของกระบวนการกักเก็บจะประเมินจากค่า การคงอยู่ของซิทราลซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในน้ำมันตะไคร้ จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า น้ำมันตะไคร้สามารถกักเก็บให้อยู่ในรูปของผงอนุภาคได้ด้วยกระบวนการอบแห้งแบบพ่นฝอยโดย ใช้แป้งดัดแปร และกัมอะราบิคผสมมอลโตเดกซ์ตริน (1: 3) เป็นสารห่อหุ้ม ลักษณะของผงอนุภาค ที่ได้จะเป็นทรงกลม กลวง พื้นผิวเป็นหลุมโดยรอบ ขนาดประมาณ 10-40 ไมโครเมตร การใช้ ปริมาณน้ำมันตะไคร้ต่ำร้อยละ 40 โดยน้ำหนักของแข็งทั้งหมด จะทำให้การคงอยู่ของซิทราลหลัง ผ่านกระบวนการอบแห้งแบบพ่นฝอยยังคงมีค่าใกล้เคียงร้อยละ 100 เมื่อใช้แป้งดัดแปรเป็นสาร ห่อหุ้ม แต่สารห่อหุ้มชนิดกัมอะราบิคผสมมอลโตเดกซ์ตรินจะทำให้ความคงตัวของผงอนุภาคสูง กว่าแป้งดัดแปร และในส่วนผลของอุณหภูมิอากาศขาเข้านั้นพบว่าไม่มีผลต่อค่าการคงอยู่ของ ซิทราล นอกจากนี้ผลของขนาดอิมัลชันในสายป้อนก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อค่าการคงอยู่ ของซิทราลโดยอิมัลชันขนาดเล็กจะให้ค่าการคงอยู่ของซิทราลสูงกว่าอิมัลชันขนาดใหญ่ en_US
dc.description.abstractalternative Herbal lemongrass is widely used in Thai cooking and is important ingredient in Thai traditional sour soup, Tom Yum. At present, some commercial instant sour soup pastes exhibit flavor loss during their processing. In this study, lemongrass oil was of interest for finding a suitable way to keep the flavor as fresh products by encapsulation technique. The encapsulation of lemongrass oil by spray drying was investigated with respect to effects of oil loading, emulsion size and inlet air temperature. The effects of various process parameters on the emulsion size and encapsulation efficiency during spray drying with an aim to obtain the high retention of flavor after drying. Because citral is recognized as the major chemical compound in the extracted lemongrass oil it was used as the indicator compounds to evaluate the encapsulation efficiency. The results showed that lemongrass oil microcapsules were successfully produced by spray drying, using modified starch and gum arabic with maltodextrin (1: 3). The encapsulated lemongrass oil presented spherical shape with smooth and extensive dented surface. The mean particles size was 10-40 m. Spray drying at below 40 wt% oil loading with the modified starch could provide higher retention of citral about 100%. However, gum arabic with maltodextrin (1: 3) showed higher stability of encapsulated lemongrass oil than modified starch. The effect of inlet air temperature on the citral retention after spray drying was insignificant. However, the emulsion size could affect a significant on the citral retention. The smaller emulsion size could also provide the higher retention of citral. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.68
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject น้ำมันตะไคร้ en_US
dc.subject การอบแห้งแบบพ่นกระจาย en_US
dc.subject Lemongrass oil en_US
dc.subject Spray drying en_US
dc.title การกักเก็บน้ำมันตะไคร้โดยใช้การอบแห่งแบบพ่นฝอย en_US
dc.title.alternative Encapsulation of lemongrass oil by spray drying en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline วิศวกรรมเคมี en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Apinan.S@Chula.ac.th
dc.email.advisor Tawatchai.C@Chula.ac.th
dc.description.publication แฟ้มข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Full Text) ชื่อเรื่องนี้เป็นแฟ้มข้อมูลของนิสิตเจ้าของวิทยานิพนธ์ที่ส่งผ่านทางบัณฑิตวิทยาลัย en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2009.68


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record