DSpace Repository

ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจโดยครอบครัวต่อพฤติกรรมการดื่มสุราในผู้ป่วยจิตเภทที่มีปัญหาการดื่มสุรา

Show simple item record

dc.contributor.advisor เพ็ญพักตร์ อุทิศ
dc.contributor.author พรินทร ปิ่นสุภา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-09-14T05:07:20Z
dc.date.available 2018-09-14T05:07:20Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59529
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
dc.description.abstract การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยจิตเภทที่มีปัญหาการดื่มสุราที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจโดยครอบครัวในระยะก่อนและหลังการทดลอง และ 2) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยจิตเภทที่มีปัญหาการดื่มสุราที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจโดยครอบครัวกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ในระยะก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเภทที่มีปัญหาการดื่มสุราจำนวน 40 คน ซึ่งมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ที่กำหนด และมารับบริการที่แผนกผู้ป่วยใน สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ได้รับการจับคู่กลุ่มตัวอย่างด้วยระดับปัญหาการดื่มสุรา แล้วถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจโดยครอบครัว (Family Motivation Interviewing) ที่ผู้วิจัยประยุกต์จากการศึกษาของ Smeerdijk et al. (2009) ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) โปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจโดยครอบครัว 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบประเมินพฤติกรรมการดื่มสุรา (ACA) และ 4) แบบวัดขั้นตอนความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงและความต้องการในการรักษา (SOCRATES-8A) เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือชุดที่ 4 พบค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยจิตเภทที่มีปัญหาการดื่มสุราในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจโดยครอบครัวมีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการดื่มสุราในระยะหลังการทดลองน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการทดลอง ผู้ป่วยจิตเภทที่มีปัญหาการดื่มสุราในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจโดยครอบครัวมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดื่มสุราน้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.description.abstractalternative The purpose of this Pretest-Posttest with a comparison group research design were to compare: 1) alcohol consumption of schizophrenic patients with alcohol drinking problem before and after received family motivational interviewing program (FMI), and 2) alcohol consumption of schizophrenic patients with alcohol drinking problem who received the FMI and those who received regular nursing care. The sample consisted of 40 schizophrenic patients with alcohol drinking problem who met the inclusion criteria and received services at the inpatient department, Galya Rajanagarindra Institute. They were matched-pairs with scores on alcohol drinking problem and then randomly assigned to either experimental or control group, 20 subjects in each group. The experimental group received the FMI that applied from the study of Smeerdijk et al. (2009) whereas the control groups received regular nursing care. Research instruments comprised of: 1) FMI, 2) Demographic questionnaire, 3) The alcohol consumption assessment (ACA), and 4) The stage of change readiness and treatment eagerness scale (SOCRATES-8A). All instruments were verified for content validity by 5 professional experts. The reliability of the 3rd instrument was reported by Pearson Coefficient as of .86. Data were analyzed using descriptive statistics, dependent and independent t-tests. The findings of this research are as follows: 1. the mean score on alcohol consumption of schizophrenic patients with alcohol drinking problem who received the FMI measured at post intervention was significantly lower than that before the intervention at p .05; 2. the mean score on alcohol consumption of schizophrenic patients with alcohol drinking problem who received the FMI measured at post intervention was significantly lower than those who received regular nursing care at p .05.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1101
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ผู้ติดสุรา
dc.subject ผู้ป่วยจิตเภท
dc.subject Alcoholics
dc.subject Schizophrenic
dc.title ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจโดยครอบครัวต่อพฤติกรรมการดื่มสุราในผู้ป่วยจิตเภทที่มีปัญหาการดื่มสุรา
dc.title.alternative THE EFFECT OF FAMILY MOTIVATION INTERVIEWING PROGRAM ON ALCOHOL CONSUMPTION IN SCHIZOPHRENIC PATIENTS WITH ALCOHOL DRINKING PROBLEM
dc.type Thesis
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline พยาบาลศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Penpaktr.U@Chula.ac.th,penpaktr_uthis@yahoo.com
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2017.1101


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record