DSpace Repository

ผลของโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นต่อความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย

Show simple item record

dc.contributor.advisor เพ็ญพักตร์ อุทิศ
dc.contributor.author สุวลักษ์ ภูอาษา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-09-14T05:07:24Z
dc.date.available 2018-09-14T05:07:24Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59532
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
dc.description.abstract การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาสองกลุ่มแบบวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) ความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นในระยะก่อนและหลังการทดลอง 2) ความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติในระยะหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายที่มีความคิดฆ่าตัวตาย ซึ่งเข้ารับการรักษา ณ แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลของรัฐ ในจังหวัดตราด ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเลือก จำนวน 30 คน ได้รับการจับคู่ให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันในเรื่องอายุและเพศ และถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 15 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบสั้น ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) โปรแกรมการบำบัดแบบสั้นที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 2) แบบประเมินความคิดฆ่าตัวตายฉบับภาษาไทย (SSI-Thai version 2014) และ 3) แบบประเมินความหวังของ Herth (1998) เครื่องมือชุดที่ 1 และ 3 ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือชุดที่ 2 และ 3 มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.81 และ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าที กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นต่ำกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นต่ำกว่าผู้ที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.description.abstractalternative This study is a quasi-experimental two group pretest-posttest design. The objectives were to compare: 1) suicide ideation of suicidal attempter who received a brief intervention program measured at the end of the intervention, and 2) suicide ideation of suicidal attempters who received a brief intervention program and those who received regular nursing care measured at the end of the intervention. The samples of 30 suicidal attempters with suicide ideation who met the inclusion criteria were recruited from in-patient department, public hospital of Trat province. The samples were matched-pairs with age and sex then randomly assigned into either experimental or control group, 15 subjects in each group. The experimental group received a brief intervention program, whereas the control group received the regular nursing care. The research instruments consisted of: 1) a brief intervention program developed by researcher, 2) the SSI-Thai version 2014, and 3) the Herth Hope Index version 1998 . The 1st and 3rd instruments were validated for content validity by 5 professional experts. The Cornbach’s Alpha coefficient reliability of the 2nd and 3rd instruments was as of 0.81 and 0.80, respectively. The t-test was used in data analysis. The findings of this research were as follows: 1. the mean score of suicidal ideation of suicidal attempter who received a brief intervention program measured at the end of the intervention was significantly lower than that before at p .05; 2. the mean score of suicidal ideation of suicidal attempter who received a brief intervention program measured at the end of the intervention was significantly lower than those who received the regular nursing care at p .05.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1121
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject พฤติกรรมฆ่าตัวตาย
dc.subject การบำบัดทางจิต
dc.subject Suicidal behavior
dc.subject Mental healing
dc.title ผลของโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นต่อความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย
dc.title.alternative THE EFFECT OF A BRIEF INTERVENTION PROGRAM ON SUICIDAL IDEATION IN SUICIDAL ATTEMTER
dc.type Thesis
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline พยาบาลศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Penpaktr.U@Chula.ac.th,penpaktr_uthis@yahoo.com
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2017.1121


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record