DSpace Repository

ผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดร่วมกับโยคะต่อความรุนแรงของอาการทางจิตในผู้ป่วยจิตเภทหญิง

Show simple item record

dc.contributor.advisor รัชนีกร อุปเสน
dc.contributor.author อรพรรณ ประทุมนันท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-09-14T05:07:27Z
dc.date.available 2018-09-14T05:07:27Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59534
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
dc.description.abstract การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความรุนแรงของอาการทางจิตในผู้ป่วยจิตเภทหญิงก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการความเครียดร่วมกับโยคะ 2) เพื่อเปรียบเทียบความรุนแรงของอาการทางจิตในผู้ป่วยจิตเภทหญิงระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการความเครียดร่วมกับโยคะ กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเภทหญิงที่รักษาแบบผู้ป่วยในของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาและมีคุณสมบัติ ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 40 คน ได้รับการจับคู่เข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน จับคู่ด้วยสถานภาพสมรส และจำนวนครั้งในการนอนโรงพยาบาล กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามโปรแกรมการจัดการความเครียดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ตามแนวคิดรูปแบบการจัดการความเครียดของ Norman et al. (2002) ประกอบด้วยการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม 9 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) โปรแกรมการจัดการความเครียดร่วมกับโยคะ 2) แบบประเมินทักษะการจัดการความเครียด 3) แบบประเมินอาการทางจิต Brief Psychiatric Rating เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. ความรุนแรงของอาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเภทหญิงในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการความเครียดร่วมกับโยคะ หลังการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความรุนแรงของอาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเภทหญิงในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการความเครียดร่วมกับโยคะ ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.description.abstractalternative The purposes of this quasi-experimental research using the pretest-posttest design were: 1) to compare the psychotic symptoms severity of female schizophrenic patients before and after received the stress management program combinded with yoga program , and 2) to compare the psychotic symptoms severity of female schizophrenic patients who received stress management program combinded with yoga program and those who received routine nursing care.Forty of female schizophrenic patients receiving in Inpatients department of Somdetchaopraya institute of psychiatry ,who met the inclusion criteria, were matched pair and assigned to experimental group and control group, 20 subjects in each group. The experimental group received the stress management program combinded with yoga program based on the concept of stress management model of Norman et al.(2002) composed of 9 group activities . Research instruments were: 1) the stress management program, 2) The Brief Psychiatric Rating Scale (BPRS), and 3) The Stress management skill scale. The instruments were tested for content validity and the t-test was used in data analysis. Major findings were as follows: 1. The psychotic symptoms severity of female schizophrenic patients who received the stress management program combinded with yoga program was significantly lower than before, at the .05 level. 2. The psychotic symptoms severity of female schizophrenic patients who received the stress management program combinded with yoga program was significantly lower than that who received received regular nursing care activities, at the .05 level.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1125
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ความเครียด (จิตวิทยา)
dc.subject ผู้ป่วยจิตเภท
dc.subject โยคะ (กายบริหาร) -- การใช้รักษา
dc.subject Stress (Psychology)
dc.subject Schizophrenics
dc.subject Hatha yoga -- Therapeutic use
dc.title ผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดร่วมกับโยคะต่อความรุนแรงของอาการทางจิตในผู้ป่วยจิตเภทหญิง
dc.title.alternative THE EFFECT OF STRESS MANAGEMENT COMBINDED WITH YOGA PROGRAM ON PSYCHOTIC SYMPTOMS SEVERITY IN FEMALE SCHIZOPHRENIC PATIENTS
dc.type Thesis
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline พยาบาลศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Ratchaneekorn.K@Chula.ac.th,upasen.r@gmail.com
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2017.1125


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record