Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลแบบทันทีของการรักษาด้วยเลเซอร์ความยาวคลื่นผสม 808 และ 905 นาโนเมตรในการลดอาการปวดกล้ามเนื้อบดเคี้ยวแบบเฉียบพลันในเพศหญิงโดยใช้การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ทำการศึกษาในผู้ป่วยหญิงที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อบดเคี้ยวจำนวน 42 คน โดยสุ่มออกเป็น กลุ่มทดลอง 21 คนและกลุ่มควบคุม 21 คน ทำการวัดผลก่อนการรักษา หลังการรักษารวมทั้ง 1สัปดาห์หลังการรักษา วัดผลโดยมาตรวัดระดับความเจ็บปวดด้วยสายตา (VAS) ค่าแรงกดที่น้อยที่สุดที่ทำให้เริ่มรู้สึกเจ็บ (PPT) และระยะอ้าปากกว้างสุด (MMO) ทำการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้การทดสอบสถิติแมนวิทนีย์ยู ผลการวิจัยพบว่าเมื่อเปรียบเทียบค่า VAS ของกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมกลุ่มทดลองมีค่ามัธยฐานก่อน,หลัง และ 1 สัปดาห์หลังการรักษา ดังต่อไปนี้ 54.00(41.75-70.50), 35.00(22.00-61.00) และ 9.00(2.00-31.00) กลุ่มควบคุม 61.00(43.50-74.00), 51.00(37.00-65.50) และ 26.50(13.00-49.00) ค่า PPT ของกลุ่มทดลองมีค่ามัธยฐานก่อน,หลัง และ 1 สัปดาห์หลังการรักษา ดังต่อไปนี้ 55.00(35.25-75.50 กิโลปาสคาล), 62.50(43.25-78.00 กิโลปาสคาล) และ 64.00(49.00-84.00 กิโลปาสคาล) กลุ่มควบคุม 55.00(35.00-80.75 กิโลปาสคาล), 49.00(41.25-77.25 กิโลปาสคาล) และ 63.00 (51.50-82.50 กิโลปาสคาล) ค่า MMO ของกลุ่มทดลองมีค่ามัธยฐานก่อน,หลังและ 1 สัปดาห์หลังการรักษา ดังต่อไปนี้ 40.00(33.00-43.50 มิลลิเมตร), 40.00(35.00-43.50 มิลลิเมตร) และ 40.00(37.00-43.00 มิลลิเมตร) กลุ่มควบคุม 42.00(32.00-45.00 มิลลิเมตร), 42.00 (31.50-45.00 มิลลิเมตร) และ 42.00 (34.00-45.00 มิลลิเมตร) ผลพบว่า VAS,PPT และ MMO หลังการรักษาและ 1 สัปดาห์หลังการรักษาไม่แตกต่างกับก่อนการรักษาอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.159, 0.070, 0.365, 0.930, 0.422 และ 0.278 ตามลำดับ) สรุปผลได้ว่าการรักษาด้วยเลเซอร์ความยาวคลื่นผสม 808 และ 905 นาโนเมตรเพียงครั้งเดียวไม่มีผลในการลดระดับความเจ็บปวดแบบทันทีในบริเวณกล้ามเนื้อบดเคี้ยวของหญิงที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อบดเคี้ยวเฉียบพลัน