dc.contributor.advisor |
กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ |
|
dc.contributor.author |
พรรณทิพา ปัทมอารักษ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
|
dc.date.accessioned |
2018-09-14T05:12:30Z |
|
dc.date.available |
2018-09-14T05:12:30Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59684 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายของนิสิตนักศึกษาชายรักชายและชายรักต่างเพศ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ที่การเห็นคุณค่าในตนเอง การเปิดรับอิทธิพลจากสื่อ การประเมินตนเสมือนวัตถุมีกับความไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกาย กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตชายรักชายและชายรักต่างเพศระดับปริญญาตรี จำนวน 233 คน ซึ่งตอบเครื่องมือวัด 4 ฉบับ ได้แก่ มาตรวัดความไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกาย มาตรวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง มาตรวัดการเปิดรับอิทธิพลจากสื่อ มาตรวัดการประเมินตนเสมือนวัตถุ ซึ่งแบ่งเป็นสามด้านย่อย อันได้แก่ ด้านการเฝ้าสำรวจภาพลักษณ์ทางร่างกายตนเอง ด้านความรู้สึกอับอายในภาพลักษณ์ทางร่างกายตนเอง และด้านความเชื่อเกี่ยวกับการควบคุมภาพลักษณ์ทางร่างกายตนเอง ข้อมูลที่ได้รับถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยการทดสอบค่าที (Independent sample t-test) เพื่อเปรียบเทียบความไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายของนิสิตนักศึกษาทั้งสองกลุ่ม และศึกษาสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาด้วยการสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างชายรักชายจะมีระดับความไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างชายรักต่างเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t(231) = 6.65, p < .001) 2. ในกลุ่มตัวอย่างชายรักชาย เมื่อพิจารณาร่วมกันโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบการถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธีการใส่ตัวแปรอิสระทั้งหมดเข้าไปในสมการ (Enter method) พบว่าการเห็นคุณค่าในตนเอง การเปิดรับอิทธิพลจากสื่อ การประเมินตนเสมือนวัตถุร่วมกันทำนายความไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = .60, p < .001) 3. ในกลุ่มตัวอย่างชายรักต่างเพศ เมื่อพิจารณาร่วมกันโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบการถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธีการใส่ตัวแปรอิสระทั้งหมดเข้าไปในสมการ (Enter method) พบว่าการเห็นคุณค่าในตนเอง การเปิดรับอิทธิพลจากสื่อ การประเมินตนเสมือนวัตถุ ร่วมกันทำนายความไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = .31, p < .001) |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research study was to examine the relationships that body dissatisfaction had with self-esteem, internalization of media influence, and the three aspects of self-objectification in 233 gay and heterosexual male undergraduates. Participant responded to a set of questionnaires measuring body dissatisfaction, self-esteem, internalization of media influence, and self-objectification (i.e., body surveillance, body shame, and control belief). An Independent sample t-test as well as Pearson’s Product Moment Correlation and Multiple Regression Analysis were used to analyze the data. Findings were as follows: 1. Gay participants scored significantly higher on body dissatisfaction than heterosexual participants (t(231) = 6.65, p < .001). 2. For gay participants, when examined together, self-esteem, internalization of media influence, and self-objectification significantly predicted body dissatisfaction and accounted for 60% of its variance (R2 = .60, p < .001). 3. For heterosexual participants, when examined together, self-esteem, internalization of media influence, and self-objectification significantly predicted body dissatisfaction and accounted for 31% of its variance (R2 = .31, p < .001). |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.808 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
ภาพลักษณ์ร่างกาย |
|
dc.subject |
รักร่วมเพศชาย |
|
dc.subject |
ความนับถือตนเอง |
|
dc.subject |
Body image |
|
dc.subject |
Male homosexuality |
|
dc.subject |
Self-esteem |
|
dc.title |
ความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเอง การเปิดรับอิทธิพลจากสื่อ การประเมินตนเสมือนวัตถุ และความไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายในชายรักชายและชายรักต่างเพศ |
|
dc.title.alternative |
RELATIONSHIPS AMONG SELF-ESTEEM, INTERNALIZATION OF MEDIA INFLUENCE, SELF-OBJECTIFICATION, AND BODY DISSATISFACTION IN GAY AND HETEROSEXUAL MEN |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
จิตวิทยา |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.email.advisor |
Kullaya.D@Chula.ac.th,kullaya@gmail.com |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2017.808 |
|