DSpace Repository

การรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ถูกข่มเหงรังแกบนไซเบอร์

Show simple item record

dc.contributor.advisor เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล
dc.contributor.author ธณัศมนต์ จั้นอรัญ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-09-14T05:13:53Z
dc.date.available 2018-09-14T05:13:53Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59714
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ถูกข่มเหงรังแกบนไซเบอร์ในประเทศไทย ซึ่งเน้นศึกษาในประเด็นการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวและประเด็นของการข่มเหงรังแกบนไซเบอร์ รวมทั้งศึกษาแนวคิด รูปแบบและเนื้อหาของการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ถูกข่มเหงรังแกบนไซเบอร์ของต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์และเสนอแนวทางในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ถูกข่มเหงรังแกบนไซเบอร์ในประเทศไทยต่อไป จากการศึกษาพบว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้ให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลไว้ และกำหนดให้มีกฎหมายลำดับรองที่ใช้เพื่อคุ้มครองสิทธินี้ แต่การข่มเหงรังแกบนไซเบอร์มีหลายประเภทซึ่งกฎหมายลำดับรองที่มีอยู่นั้นเป็นบทบัญญัติที่บังคับใช้ได้เป็นการทั่วไป ซึ่งมีเพียงบางมาตราที่สามารถนำมาปรับใช้ได้แต่ยังไม่ครอบคลุมและชัดเจนเพียงพอที่จะนำมาปรับใช้ในทุกกรณีของการข่มเหงรังแกบนไซเบอร์จึงทำให้กฎหมายที่มีอยู่ยังไม่มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ถูกข่มเหงรังแกบนไซเบอร์จึงยังไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อพิจารณาถึงการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ถูกข่มเหงรังแกบนไซเบอร์ของต่างประเทศ พบว่า สหรัฐอเมริกามีการรับรองและคุ้มครองทั้งในระดับรัฐธรรมนูญและกฎหมายมลรัฐ โดยส่วนใหญ่เป็นการบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งครอบคลุมในทุกประเภทของการข่มเหงรังแกบนไซเบอร์ ได้แก่ การคุกคามบนไซเบอร์ การหมิ่นประมาท การปลอมหรือสวมรอยเป็นบุคคลอื่นบนออนไลน์และการเฝ้าติดตามทางอินเทอร์เน็ต ส่วนประเทศนิวซีแลนด์มีกฎหมายที่ใช้คุ้มครองผู้ถูกข่มเหงรังแกบนไซเบอร์ไว้โดยเฉพาะ ได้แก่ Harmful Digital Communications Act 2015 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงศึกษาเพื่อแสดงให้เห็นว่าสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวได้ถูกรับรองและคุ้มครองไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ถูกข่มเหงรังแกบนไซเบอร์ก็ได้รับการรับรองและคุ้มครองเช่นเดียวกัน เมื่อมีการละเมิดในสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคล รัฐจึงต้องเข้ามาแทรกแซงโดยการมีมาตรการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธินั้น ซึ่งกฎหมายที่มีอยู่ในประเทศไทยยังมีความไม่เหมาะสมเพียงพอจึงต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่มีอยู่ให้สามารถนำมาปรับใช้ในทุกกรณี เพื่อให้สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ถูกข่มเหงรังแกบนไซเบอร์ได้รับการรับรองและคุ้มครองอย่างแท้จริง
dc.description.abstractalternative This research aims to study guarantee and protection of the right to privacy of the cyber-bullied in Thailand. It focuses on the issue of guarantee and protection of the right to privacy and the issue of cyber-bullying. This research also studies the concepts, patterns and contents of guarantee and protection of the right to privacy of the cyber-bullied in the foreign countries to analyze and propose the proper guarantee and protection of the right to privacy of the cyber-bullied in Thailand. The results of the research found that the Constitution of Kingdom of Thailand guarantee and protection of the right to privacy of person and regulate the secondary law to protect this right. However, it has many kinds of Cyber-bullying that current secondary law is general provisions apply. Some sections can be used to apply, but they are not explicit enough to apply to all forms of cyber-bullying. Therefore, the current law is not suitable to apply that cannot protection of the right to privacy of the cyber-bullied effectively. Considering the guarantee and protection of the right to privacy of the cyber-bullied of the foreign states, the study shows that the United States of America has guarantee and protection this right in US Constitution and state laws. Most of them are provided in the Penal Code and cover all forms of cyber-bullying includes cyber harassment, defamation, online impersonation and cyber stalking. New Zealand has specific law to protect cyber-bullied, that is Harmful Digital Communications Act 2015. This research is to emphasize that the right to privacy is guaranteed and protected in the Constitution of Kingdom of Thailand also the right to privacy of the cyber-bullied. When the violation of the right to privacy of person, the state must intervene by taking legal measures to protect the rights. The current existence law in Thailand is not sufficiently suitable, consequently it is necessary to amend the provisions in order to be applied inclusively in any cases that the right to privacy of cyber-bullied will become truly guaranteed and protected.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.954
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject เสรีภาพ -- ไทย
dc.subject สิทธิส่วนบุคคล -- ไทย
dc.subject การป้องกันข้อมูล -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
dc.subject Liberty -- Thailand
dc.subject Privacy, Right of -- Thailand
dc.subject Data protection -- Law and legislation
dc.title การรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ถูกข่มเหงรังแกบนไซเบอร์
dc.title.alternative GUARANTEE AND PROTECTION OF THE RIGHT TO PRIVACY OF THE CYBER-BULLIED
dc.type Thesis
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิติศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Aua-Aree.E@Chula.ac.th,a_aree1079@yahoo.com,aua-aree.e@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2017.954


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record