DSpace Repository

การศึกษาถึงความชุกของการตรวจพบระดับของสารพันธุกรรมอิสระจากเซลลิมโฟไซต์ชนิดที ที่ปรากฏในพลาสม่าผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดที่เซลไม่เล็กระยะลุกลาม

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชนิดา วินะยานุวัติคุณ
dc.contributor.author บวร วีระสืบพงศ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-09-14T05:19:09Z
dc.date.available 2018-09-14T05:19:09Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59806
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
dc.description.abstract ที่มา: circulating cell free DNA ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งปอดชนิดเซลไม่เล็กมีความสำคัญในแง่การเป็นปัจจัยพยากรณ์โรค โดยที่มาของ circulating cell free DNA มาจากทั้งเซลมะเร็งและเซลที่ไม่ใช่มะเร็งอื่นๆ การศึกษานี้จึงทำขึ้นเพื่อตอบคำถามเรื่องแหล่งกำเนิดของ circulating cell free DNAที่ไม่ได้มาจากเซลมะเร็ง ว่ามาจาก T cellหรือไม่ วิธีการศึกษา: ทำการตรวจ T cell derived circulating cell free DNA จากพลาสม่าของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งปอดชนิดเซลไม่เล็กระยะลุกลาม มาทำการตรวจ semiquantitative PCR โดยตรวจหา VDJ segment gene ของ T cell โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหาความชุกของการตรวจพบ T cell derived circulating cell free DNA นอกจากนั้นยังมีการเอาชิ้นเนื้อมาทำการตรวจ tumor-infiltrating lymphocyte โดยย้อมดู CD3 เพื่อหาความสัมพันธ์กับ T cell derived circulating cell free DNA และปัจจัยอื่นๆ รวมทั้งอัตราการรอดชีวิตโดยรวมของผู้ป่วย ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งสิ้น 106 คน ตรวจพบระดับของ T cell derived circulating cell free DNA โดยพบมีความชุกเท่ากับร้อยละ 73 และไม่พบว่า T cell derived circulating cell free DNA มีความสัมพันธ์ กับ CD3 positive TIL นอกจากนั้นยังพบว่าสัดส่วนระหว่าง T cell derived circulating cell free DNA ต่อRPP30 มีแนวโน้มที่จะเป็นปัจจัยพยากรณ์โรคในแง่ของอัตราการรอดชีวิตโดยรวม อีกทั้งจากการวิเคราะห์multivariate เพื่อดูความสัมพันธ์ของแต่ละปัจจัยพบว่า การสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับ ระดับของ T cell derived circulating cell free DNA คือ ผู้ป่วยที่สูบบุหรี่จะตรวจพบระดับของ T cell derived circulating cell free DNA น้อยกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผล: พบว่ามี T cell derived circulating cell free DNA เป็นส่วนหนึ่งของ circulating cell free DNA ที่ไม่ได้มาจากเซลมะเร็งในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลไม่เล็กจริง
dc.description.abstractalternative background: circulating cell-free DNA which was associated with prognosis in lung cancer patient derived from both tumor and non-tumor cell. In this study, we investigated the association of T cell- derived circulating cell free DNA in plasma of advanced stage non-small cell lung cancer patient with tumor-infiltrating lymphocyte. Methods: semi quantitative PCR with VDJ segment of T cell primer was used to detect T cell- derived circulating cell free DNA in plasma of 106 patients diagnosed with advanced stage non-small-cell lung cancer. Tissue sample were used to evaluate tumor-infiltrating lymphocyte and correlation with T cell- derived circulating cell free DNA level and survival were analyzed. Results: T cell- derived circulating cell free DNA was detected in 73% of patients. Correlation was not found between T cell- derived circulating cell free DNA level and tumor-infiltrating lymphocyte level. From multivariable analysis, smoking status was the only factor which had correlation with T cell- derived circulating cell free DNA level(P<0.001). Overall survival was not statistically significant different between high and low level of T cell- derived circulating cell free DNA. Conclusion: from our study, T cell might be one of the origins of non-tumor- derived circulating cell free DNA in advanced stage non-small-cell cancer patients.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1619
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ปอด -- มะเร็ง
dc.subject ลิมโฟไซต์
dc.subject Lungs -- Cancer
dc.subject Lymphocytes
dc.title การศึกษาถึงความชุกของการตรวจพบระดับของสารพันธุกรรมอิสระจากเซลลิมโฟไซต์ชนิดที ที่ปรากฏในพลาสม่าผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดที่เซลไม่เล็กระยะลุกลาม
dc.title.alternative prevalence of plasma non-tumor-derived circulating DNA originated from T-cell lymphocyte presenting in advanced non-small cell lung cancer
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor nutechu@yahoo.com,nutechu@gmail.com
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2017.1619


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record