DSpace Repository

การศึกษาการพยากรณ์โรคโดยอาศัยระดับเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมป์โฟไซต์ที่ตรวจพบในชิ้นเนื้อร่วมกับข้อมูลทางคลินิกในการทำนายโอกาสกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมชนิดที่มีตัวรับสัญญาณเฮอร์ทูระยะแรกในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ระหว่างปีพ.ศ. 2548-2559

Show simple item record

dc.contributor.advisor นภา ปริญญานิติกูล
dc.contributor.advisor เทวินทร์ อติกานต์กุล
dc.contributor.author สุรัมภา ประภัสสรวิจิตร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-09-14T05:19:54Z
dc.date.available 2018-09-14T05:19:54Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59818
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
dc.description.abstract ความเป็นมา แม้ว่าในปัจจุบันผู้ป่วยมะเร็งเต้านมกลุ่มที่มีตัวรับสัญญาณเฮอร์ทูจะได้รับการรักษาด้วยยาต้านเฮอร์ทูแล้ว แต่ยังพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมีการกลับเป็นซ้ำของโรค มีหลายการศึกษาพบว่าระดับเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมป์โฟไซต์ที่ตรวจพบในชิ้นเนื้อ (TILs) มีความสัมพันธ์กับพยากรณ์โรคที่ดี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมป์โฟไซต์ที่ตรวจพบในชิ้นเนื้อ (TILs) ร่วมกับปัจจัยทางคลินิกและพยาธิวิทยาในการพยากรณ์โอกาสการกลับเป็นซ้ำของโรคในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิดที่มีตัวรับสัญญาณเฮอร์ทูระยะแรก วิธีการศึกษา ศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิดที่มีตัวรับสัญญาณเฮอร์ทูระยะ 1-3 แบบย้อนหลัง ระหว่างมกราคม 2548 ถึงธันวาคม 2560 จำนวน486 คนโดยศึกษาระดับ TILs ร่วมกับปัจจัยทางคลินิกและพยาธิวิทยาโดยทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมชนิดที่มีตัวรับสัญญาณเฮอร์ทูอย่างมีนัยสำคัญ ผลการวิจัย หลังจากติดตามผู้ป่วย 4.1 ปี พบผู้ป่วยมีการกลับเป็นซ้ำของโรคทั้งหมด 92 รายคิดเป็นร้อยละ 18.9 และปัจจัยที่มีผลลดการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การได้รับการรักษาด้วยยามุ่งเป้าต่อตัวรับสัญญาณเฮอร์ทูและระดับปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมป์โฟไซต์ที่ตรวจพบในชิ้นเนื้อ (TILs) ที่สูง สรุปผลการวิจัย ระดับปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมป์โฟไซต์ที่ตรวจพบในชิ้นเนื้อ (TILs) ที่สูงและการได้รับการรักษาด้วยยามุ่งเป้าต่อตัวรับสัญญาณเฮอร์ทู สามารถเป็นปัจจัยพยากรณ์โอกาสการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิดที่มีตัวรับสัญญาณเฮอร์ทู
dc.description.abstractalternative Background: Human epidermal growth factor receptor 2 (HER-2) breast cancer is associated with diminished disease-free and survival. Despite receiving adjuvant Trastuzumab, 20% of these patients had recurrence after treatment. Several clinical studies had demonstrated that high level of Tumor-infiltrating lymphocytes (TILs) were associated with better prognosis. So, this study was aimed to identify prognostic and clinical values that associated with outcomes especially in term of disease free survival. Methods: Four hundred and eighty-six patients with early stage HER-2 positive breast cancer who were diagnosed and treated at King Chulalongkorn Memorial Hospital from January 2005 to December 2016 were reviewed retrospectively. Clinico-pathological features, stromal TILs and survival outcomes were analyzed. Results: Ninety two out of 486 (18.9%) patients had recurrent disease after a median follow up of 4.1 years. In 100 available tissues that evaluated for stromal TILs, only 14 patients had high stromal TILs and 46 patients had recurrent disease. Median percentage of stromal TILs in recurrent was lower than non-recurrent subgroup. From multivariate analysis, high stromal TILs and Trastuzumab used were associated with decreased risk of recurrences. Conclusion: High stromal TILs and Trastuzumab used were statistically significant prognostic values for predicting disease recurrence in HER-2 positive early breast cancer.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1637
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์
dc.subject Lymphocytic leukemia
dc.title การศึกษาการพยากรณ์โรคโดยอาศัยระดับเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมป์โฟไซต์ที่ตรวจพบในชิ้นเนื้อร่วมกับข้อมูลทางคลินิกในการทำนายโอกาสกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมชนิดที่มีตัวรับสัญญาณเฮอร์ทูระยะแรกในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ระหว่างปีพ.ศ. 2548-2559
dc.title.alternative Prognostic value of Tumor-infiltrating lymphocytes (TILs) and clinical value for Prediction of Breast Cancer Recurrence in HER2 Positive Early Breast Cancer after Surgery in King Chulalongkorn Memorial Hospital During 2005-2016
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor somnapa77@hotmail.com,somnapa77@hotmail.com
dc.email.advisor konnanla@hotmail.com
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2017.1637


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record