DSpace Repository

ความเป็นเลิศทางคุณธรรมและความเป็นเลิศทางปัญญาในจริยศาสตร์นิโคมาเคียน

Show simple item record

dc.contributor.advisor เกษม เพ็ญภินันท์
dc.contributor.advisor สุภัควดี อมาตยกุล
dc.contributor.author เหมือนมาด มุกข์ประดิษฐ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-09-14T06:03:39Z
dc.date.available 2018-09-14T06:03:39Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59926
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
dc.description.abstract บทคัดย่อ จริยศาสตร์ของอริสโตเติลถามคำถามว่าชีวิตที่ดีคืออะไร หรือคุณค่าในชีวิตของมนุษย์คืออะไร อริสโตเติลตอบว่าชีวิตที่ดีต้องมีความเป็นเลิศสองประการคือความเป็นเลิศทางปัญญาและความเป็นเลิศทางคุณธรรม ผู้ศึกษาจริยศาสตร์ของอริสโตเติลส่วนใหญ่ตีความความเป็นเลิศทางปัญญาและความเป็นเลิศทางคุณธรรมไปคนละทาง และแต่ละทางมีหลักฐานสนับสนุนในตัวบทจริยศาสตร์นิโคมาเคียน วิทยานิพนธ์นี้ทำความเข้าใจการตีความอริสโตเติลสองสายที่ไม่ลงรอยกัน คือฝ่ายอลาสแดร์ แมคอินไทร์ ซึ่งมีความคิดแบบปัญญานิยม และฝ่ายมาร์ธา นุสบัม ซึ่งวิจารณ์ฝ่ายปัญญานิยม ข้าพเจ้าเสนอว่าความคิดทั้งสองแบบมีที่มาจากตัวบทจริยศาสตร์นิโคมาเคียนเอง และข้าพเจ้าเสนอทางออกที่จะทำให้อริสโตเติลสอดคล้องในตัวเอง ด้วยการตีความปัญญาทางจริยธรรมเป็นสองแบบ ดังมี ทอมัส อไควนัส ซึ่งเป็นนักคิดสายอริสโตเติลในยุคกลาง เป็นตัวอย่าง ข้าพเจ้าเสนอว่าการตีความปัญญาทางจริยธรรมเป็นสองแบบเท่านั้นจึงทำให้เราสามารถเข้าใจความเป็นเลิศทางปัญญาและความเป็นเลิศทางคุณธรรม และความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นเลิศทั้งสอง อย่างที่อริสโตเติลอธิบายไว้ได้
dc.description.abstractalternative Aristotle's ethics revolves around the questions about good life, or human good. Aristotle claims that major part of a good life consists of two excellences or virtues; intellectual excellence and moral excellence. Those who read Aristotle interpret the nature of these excellences in different ways, the Nicomachean ethics seems to support different interpretations. This thesis seeks to understand the difference, and the parts of text these different interpretations depend on. I study Alasdair MacIntyre's intellectualist interpretation of Aristotle, and Martha Nussbaum's non-intellectualist interpretation. I then attempt to resolve the conflicts between these views by revisiting the texts, and with example of Thomas Aquinas, seeking to understand Aristotle as faithfully as possible. I follow Aquinas in interpreting practical wisdom as a skill that works in two ways. I assert that practical wisdom is the key to understand moral and intellectual excellences, and without correct understanding of practical wisdom, we cannot grasp the true meaning of both excellences. This thesis shows that, with correct understanding of practical wisdom, we can finally resolve the conflict between intellectualist interpretation and non-intellectualist interpretation of intellectual and moral excellences.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1036
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject อริสโตเติล
dc.subject ปรัชญาสมัยโบราณ
dc.subject จริยศาสตร์
dc.subject ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.subject Aristotle
dc.subject Ethics
dc.subject Philosophy, Ancient
dc.title ความเป็นเลิศทางคุณธรรมและความเป็นเลิศทางปัญญาในจริยศาสตร์นิโคมาเคียน
dc.title.alternative Moral and Intellectual Virtues in Nicomachean Ethics
dc.type Thesis
dc.degree.name อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline ปรัชญา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Kasem.P@Chula.ac.th,monsieurkasem@yahoo.com,monsieurkasem@yahoo.com
dc.email.advisor Supakwadee.A@Chula.ac.th,s.amatayakul@gmail.com
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2017.1036


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record