dc.contributor.advisor |
ชัยวัฒน์ มณีนุษย์ |
|
dc.contributor.author |
ชินเดช จิระอานนท์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2018-09-14T06:04:24Z |
|
dc.date.available |
2018-09-14T06:04:24Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59985 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินถึงผลของวิธีการบูรณะวัสดุเรซิน คอมโพสิตชนิดบูรณะทั้งก้อนที่มีรูปแบบผลิตภัณฑ์และลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันในโพรงฟันชนิดคลาสทู ต่อช่องว่างที่เกิดขึ้นในการบูรณะ ด้วยเครื่องไมโครคอมพิวเตดโทโมกราฟฟี่ โดยทำการเตรียมโพรงฟันชนิดคลาสทูในฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่งทั้งหมด 40 ซี่ และแบ่งตามกลุ่มของการบูรณะเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 บูรณะด้วยฟิลเทค บัลค์ฟิลล์ โพสทีเรียแบบหลอด (Filtek Bulk Fill Posterior, Syringes) โดยตักวัสดุใส่โพรงฟันเพียงครั้งเดียว กลุ่มที่ 2 บูรณะด้วยฟิลเทค บัลค์ฟิลล์ โพสทีเรียแบบหลอด (Filtek Bulk Fill Posterior, Syringes) โดยตักวัสดุใส่โพรงฟันสองครั้ง กลุ่มที่ 3 บูรณะด้วยฟิลเทค บัลค์ฟิลล์ โพสทีเรียแบบแคปซูล (Filtek Bulk Fill Posterior, Capsule) โดยฉีดวัสดุเพียงครั้งเดียว และกลุ่มที่ 4 ทำการบูรณะด้วยโซนิคฟิลล์แบบแคปซูล (SonicFill 2, Capsule) โดยฉีดวัสดุเพียงครั้งเดียวจากเครื่องมือฉีดสำหรับวัสดุโซนิคฟิลล์ (SonicFill Handpiece) สารยึดติด OptiBond FL ถูกใช้เตรียมพื้นผิวโพรงฟันก่อนบูรณะ ภายหลังบูรณะเก็บชิ้นตัวอย่างไว้ในตู้ที่มีความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 100 ที่ อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นประเมินร้อยละของช่องว่างที่เกิดขึ้นทั้งหมดภายในโพรงฟันที่บูรณะแล้วด้วยเครื่องไมโครคอมพิวเตดโทโมกราฟฟี่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย One-way ANOVA ร่วมกับ Tukey Post-hoc test ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละของช่องว่างในกลุ่มที่ 2 ซึ่งบูรณะด้วยการตักวัสดุสองครั้ง (1.62 %) มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ร้อยละของช่องว่างของกลุ่มที่ 1 ซึ่งตักวัสดุเพียงครั้งเดียวหรือกลุ่มที่ 3 และ 4 ซึ่งฉีดวัสดุใส่โพรงฟันเพียงครั้งเดียวไม่แตกต่างกัน (0.49 %, 0.33 % และ 0.21 % ตามลำดับ) สรุปผลการศึกษาได้ว่า การบูรณะโพรงฟันชนิดคลาสทูด้วยเรซิน คอมโพสิต ชนิดบูรณะทั้งก้อน โดยวิธีตักวัสดุใส่โพรงฟันสองครั้งเกิดช่องว่างในการบูรณะมากที่สุด |
|
dc.description.abstractalternative |
The aim of this study was to evaluate voids formation in Class II cavity restored with different placement methods of bulk-fill resin composites using micro-computed tomography (micro-CT). Standardized Class II cavities were prepared in 40 extracted human premolars which were divided into 4 groups. Group1: one bulk placement with syringe type (Filtek Bulk Fill Posterior, Syringes); Group2: incremental placement with syringe type (Filtek Bulk Fill Posterior, Syringes); Group3: one bulk placement with injection capsule type (Filtek Bulk Fill Posterior, Capsule); Group4: one bulk placement with injection SonicFill Handpiece type (SonicFill 2, Capsule). Adhesive system (Optibond FL) was applied before restoration. Percent of voids (%Voids) in restored cavity was evaluated with micro-CT after storage in 100% relative humidity at 37 degrees Celsius for 24 hours. Statistical analysis was done using One-way ANOVA and Tukey post hoc test at confidential level of 95 %. Results: Percent of voids in group 2 (1.62 %) was significant higher (p = 0.05) than the other groups (0.49 %, 0.33 % and 0.21 %, respectively). Conclusion: Incremental placement created the highest voids when restore Class II cavity with bulk-fill resin composite. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.874 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.title |
ช่องว่างของการบูรณะเรซิน คอมโพสิตชนิดบูรณะทั้งก้อนในโพรงฟันชนิดคลาสทู |
|
dc.title.alternative |
VOIDS OF BULK FILL RESIN COMPOSITE RESTORATION IN CLASS II CAVITY |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
ทันตกรรมหัตถการ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.email.advisor |
Chaiwat.M@chula.ac.th,chaiwat.m@chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2017.874 |
|