DSpace Repository

การศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Show simple item record

dc.contributor.advisor รุ้งระวี นาวีเจริญ
dc.contributor.author อิสริยาภรณ์ แสงสวย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-09-14T06:04:31Z
dc.date.available 2018-09-14T06:04:31Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59993
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
dc.description.abstract การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง อายุ เพศ รายได้ ระดับการศึกษา โรคร่วม ระยะเวลาหลังปลูกถ่ายไต ค่าความดันโลหิตซีสโตลิค ค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิค ค่าอัตราการกรองของไต (GFR) ค่ายูเรียไนโตรเจน (BUN) ค่าครีอะตินิน ค่าโคเลสเตอรอล ค่าไตรกลีเซอร์ไรด์ ค่าไขมันในเลือด (LDL) และ ค่าไขมันในเลือด (HDL) กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยภายหลังได้รับการปลูกถ่ายไต อายุระหว่าง 18-59 ปี ที่เข้ารับการรักษา ณ คลินิกปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและค่าผลลัพธ์ทางคลินิค และ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไต ซึ่งประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรม (2001) และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของเครื่องมือ มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีแบบเป็นอิสระจากกัน (Independent sample t - test) และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวน(one-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านพัฒนาการในระดับดีมากที่สุด (Mean=4.71,SD=0.53) 2) การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา ค่าไขมันในเลือด (LDL) และค่าไขมันในเลือด(HDL) พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไต จำแนกตาม อายุ รายได้ โรคร่วม ระยะเวลาหลังปลูกถ่ายไต ค่าความดันโลหิตซีสโตลิค ค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิค ค่าอัตราการกรองของไต (GFR) ค่ายูเรียไนโตรเจน (BUN) ค่าครีอะตินิน ค่าโคเลสเตอรอล ค่าไตรกลีเซอร์ไรด์ พบว่า ไม่แตกต่าง (p>.05)
dc.description.abstractalternative This descriptive research aimed to study self-care behaviors in patients with post kidney transplantation at northeast region and to compare self-care behaviors in patients with post kidney transplantation among demographic patients data ; age, sex, the level of income and education, co-morbidity, post- kidney transplantation time, the level of systolic, and diastolic, Glomerular filtration rate, blood urea nitrogen, creatinine, cholesterol, triglyceride, low density lipoprotein (LDL) and high density lipoprotein(HDL). The sample consisted of 120 participants were recruited by using Simple random sampling, aged between 18 to 59 year olds, received treatment at the tertiary care setting, Ministry of Public Health in northeast region, Thailand. The Research instrument included of 2 parts: 1) a demographic information sheet and clinical outcomes 2) a Self-care behaviors in post kidney transplantation questionnaire was based on Nursing theory of self-care (Orem,2001). The Research instrument included composing Universal self-care requisites, Developmental self-care requisites and Health deviation self-care. Internal consistency, reliability determined by Cronbach's alpha coefficients was 0.85. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, independent sample t-test, and one-way ANOVA. The major findings were presented as follows: 1) the mean of Developmental self-care requisites in patients with post kidney transplantation were highest level (Mean = 4.71, SD = 0.53). 2) The comparison of self-care behaviors among post-transplant patients in the Northeast region by Gender, low density lipoprotein (LDL) and high density lipoprotein(HDL) were significant at 0.05. However, no significant results were not obtained between age, income, co-morbidity, post- kidney transplantation time, systolic pressure, diastolic pressure, glomerular filtration rate, blood urea nitrogen, creatinine, cholesterol and triglyceride level and self-care behaviors in patients with post kidney transplant in northeast region.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1131
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ไต -- การปลูกถ่าย
dc.subject การดูแลหลังศัลยกรรม
dc.subject Kidneys -- Transplantation
dc.subject Postoperative care
dc.title การศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
dc.title.alternative A STUDY OF SELF CARE BEHAVIORS IN PATIENTS POST KIDNEY TRANSPLANTATION IN NORTHEAST REGION
dc.type Thesis
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline พยาบาลศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2017.1131


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record