DSpace Repository

ผลกระทบของนโยบายประชานิยมแบบทักษิณต่อการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์
dc.contributor.author ภัทร หวังกิตติกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-09-14T06:04:55Z
dc.date.available 2018-09-14T06:04:55Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60016
dc.description วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์นี้เป็นการนำเสนอเนื้อหาเรื่อง “ผลกระทบของนโยบายประชานิยมแบบทักษิณที่มีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทย” โดยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูล 2 รูปแบบคือ รูปแบบเอกสาร และ รูปแบบการสัมภาษณ์ ก่อนจะนำมาตรวจสอบ วิเคราะห์ และอธิบายเป็นผลการวิจัยของวิทยานิพนธ์นี้ ผลจากการวิจัยได้พบว่า นโยบายประชานิยมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนชนชั้นกลางกับกลุ่มคนชนชั้นรากหญ้าด้วยเหตุผล 2 ประการคือ การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางอำนาจในอดีต และ ความไม่เป็นธรรมในการจัดสรรทรัพยากร อันนำไปสู่การแบ่งแยกกลุ่มคนทั้งสองกลุ่มออกเป็นสองฝ่ายคือฝ่ายที่ได้รับผลประโยชน์จากนโยบาย (กลุ่มคนชนชั้นรากหญ้า) และฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจากนโยบาย (กลุ่มคนชนชั้นกลาง) ทว่าด้วยสภาพความเป็นจริงในสังคมไทยที่กลุ่มคนทั้งสองกลุ่มมีจำนวนที่แตกต่างกันมาก กลุ่มคนชนชั้นรากหญ้าซี่งเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ในสังคมจึงสามารถใช้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือในการปกป้องนโยบายประชานิยมที่พวกตนได้รับผลประโยชน์เอาไว้ ในขณะที่กลุ่มคนชนชั้นกลางซึ่งเป็นกลุ่มคนส่วนน้อยและได้รับผลกระทบจากนโยบายประชานิยมมิอาจใช้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับกลุ่มคนชนชั้นรากหญ้าได้ กลุ่มคนชนชั้นกลางจึงหันไปร่วมมือกับกลุ่มอำนาจนอกระบบ เช่น ทหาร ในการเข้ามายึดอำนาจการปกครองอันส่งผลให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทยสิ้นสุดลง สรุปผลการวิจัย นโยบายประชานิยมทำให้อำนาจทางการเมืองของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตกอยู่ในมือของกลุ่มคนชนชั้นรากหญ้าเพียงกลุ่มเดียวอย่างเด็ดขาด กลุ่มคนชนชั้นกลางซึ่งสูญเสียอำนาจทางการเมืองจึงตัดสินใจล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยลงด้วยการรัฐประหารใน พ.ศ.2557
dc.description.abstractalternative This thesis is entitled “Thaksin’s Populism on Politics in Thailand’s Democratic Regime”. Document Research and Interview Research were used to analyze the data for this thesis. The result of the thesis showed that Thaksin’s populism contributed to Thai people’s conflict, especially, between middle class people and the lower class one. The populist policy resulted in 2 problems. The first problem was the changing of power relation while the second one was the injustice of resource allocation. These problems led to the conflict between two groups of people. The first group of people was middle class people who were negatively affected by Thaksin’s populism and the another side was lower class people who benefitted from Thaksin’s populism. In reality, number of people in each group was very different. The number of people in middle class side was much less than that of the lower class. Thus, the lower class people could use democratic means to support Thaksin’s populism. On the contrary, the middle class people did not agree with using democratic means to protect their benefits. Therefore, they collaborated with other powerful parties, especially the military, to balance the power of the lower class. To summarize, Thaksin’s populism made the political power turned to be in the lower class people’s site absolutely, so the middle class people decided to overthrow democracy by Coup D’etat in 2014.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.679
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title ผลกระทบของนโยบายประชานิยมแบบทักษิณต่อการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย
dc.title.alternative Effect of Thaksin's Populism on Politics in Thailand's Democratic Regime
dc.type Thesis
dc.degree.name รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การเมืองและการจัดการปกครอง
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor THANAPON.L@CHULA.AC.TH,tlaiprakobsup@hotmail.com
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2017.679


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record