DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่าง บุคลิกภาพ สัมพันธภาพในการปรึกษา และความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจ ในผู้ที่มีประสบการณ์รับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยา

Show simple item record

dc.contributor.advisor อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
dc.contributor.author ชิชยะ ศรีชัยสวัสดิ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2018-09-14T06:06:32Z
dc.date.available 2018-09-14T06:06:32Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60083
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง บุคลิกภาพ สัมพันธภาพในการปรึกษา และความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีประสบการณ์รับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยา จำนวน 132 คน อายุเฉลี่ยเท่ากับ 23.77 ± 5.72 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) มาตรวัดบุคลิกภาพแบบห้าองค์ประกอบ 2) มาตรวัดสัมพันธภาพในการปรึกษา ฉบับย่อ: สำหรับผู้รับบริการ และ 3) มาตรวัดความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจภาษาไทย ฉบับย่อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า บุคลิกภาพแบบไม่มั่นคงทางอารมณ์ มีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.42, p < .01) ในขณะที่บุคลิกภาพแบบเปิดเผย บุคลิกภาพแบบคล้อยตาม บุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึก และสัมพันธภาพในการปรึกษา มีค่าสหสัมพันธ์ทางบวกกับความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .44, .22, .39 และ .26 ตามลำดับ, p < .01) ส่วนบุคลิกภาพแบบเปดรับประสบการณ์ใหม่ มีค่าสหสัมพันธ์ทางบวกกับความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .19, p < .05) นอกจากนี้ บุคลิกภาพแบบห้าองค์ประกอบ (ได้แก่ แบบไม่มั่นคงทางอารมณ์ แบบเปิดเผย แบบเปดรับประสบการณ์ใหม่ แบบคล้อยตาม และแบบมีจิตสำนึก) และสัมพันธภาพในการปรึกษา สามารถร่วมกันทำนายความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และอธิบายความแปรปรวนของความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจร้อยละ 36 (R2 = .36, p < .01) โดยบุคลิกภาพแบบไม่มั่นคงทางอารมณ์มีน้ำหนักในการทำนายสูงที่สุด (β = -.32, p < .01) ส่วนบุคลิกภาพแบบเปิดเผยและสัมพันธภาพในการปรึกษา มีน้ำหนักในการทำนายลำดับรองลงมา (β = .27 และ .23 ตามลำดับ, p < .01) ในขณะที่บุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึกมีน้ำหนักในการทำนายต่ำที่สุด (β = .17, p < .05)
dc.description.abstractalternative This study aimed to examine the relationship among personality, working alliance, and posttraumatic growth. Participants were 132 individuals with counseling service experiences. Their mean age was 23.77 ± 5.72 years old. Research instruments were Big Five Inventory, Working Alliance Inventory - Short Form: Client Version, and the Posttraumatic Growth Inventory - Short Form. Pearson’s product-moment correlation coefficient and multiple regression analysis were used to analyse the data. Findings revealed that neuroticism was significantly and negatively correlated with posttraumatic growth (r = -.42, p < .01). Extraversion, agreeableness, conscientiousness, and working alliance were significantly and positively correlated with posttraumatic growth (r = .44, .22, .39 and .26 respectively, p < .01). Openness to experience was significantly and positively correlated with posttraumatic growth (r = .19, p < .05) Further, five-factor personality (including neuroticism, extraversion, openness to experience, agreeableness, and conscientiousness) and working alliance significantly predicted posttraumatic growth and accounted for 36 percent of the total variance (R2 = .36, p < .01). Neuroticism was the most significant predictor of posttraumatic growth (β = -.32, p < .01). Extraversion and working alliance were also significant predictors of posttraumatic growth (β = .27 and .23 respectively, p < .01). While conscientiousness was the least significant predictor of posttraumatic growth (β = .17, p < .05).
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.798
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่าง บุคลิกภาพ สัมพันธภาพในการปรึกษา และความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจ ในผู้ที่มีประสบการณ์รับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
dc.title.alternative RELATIONSHIPS AMONG PERSONALITY, WORKING ALLIANCE, AND POSTTRAUMATIC GROWTH AMONG INDIVIDUALS WITH COUNSELING SERVICE EXPERIENCES
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จิตวิทยา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Arunya.T@Chula.ac.th,atuicomepee@gmail.com
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2017.798


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record