DSpace Repository

การใช้มาตรการบรรเทาภาระภาษีมูลค่าเพิ่มซ้ำซ้อนให้กับเกษตรกรรายย่อย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ทัชชมัย ทองอุไร
dc.contributor.author ธนันท์เศรษฐ์ ศรีวิชัย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-09-14T06:07:34Z
dc.date.available 2018-09-14T06:07:34Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60117
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาแนวทางและหลักการของมาตรการบรรเทาภาระภาษีมูลค่าเพิ่มซ้ำซ้อนของเกษตรกรรายย่อยในกลุ่มสหภาพยุโรปและประเทศสมาชิก เพื่อนำมาปรับใช้กับปัญหาการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มของเกษตรกรในประเทศไทย ตามมาตรา 81 (1) (ก) และ (ข) แห่งประมวลรัษฎากร โดยในปัจจุบัน สหภาพยุโรป (European Union) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีการประกอบกิจการเกษตรกรรมเป็นจำนวนมาก ได้กำหนดมาตรการเงินส่วนเพิ่มอัตราคงที่สำหรับเกษตรกร (The Flat Rate Scheme For Farmer) ซึ่งเป็นมาตรการเฉพาะทางภาษี (Special-Scheme) ไว้ในกฎหมาย The VAT Directive ของสหภาพยุโรป เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกฎหมายภายในของตนเองได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการศึกษามาตรการบรรเทาภาระภาษีดังกล่าว เพื่อหาแนวทางแก้ไขและบรรเทาปัญหาภาระภาษีมูลค่าเพิ่มซ้ำซ้อนของเกษตรกรรายย่อยในรูปแบบอื่นเพื่อนำมาเป็นแนวทางประกอบการปรับปรุงกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทยต่อไป จากการศึกษาพบว่ามาตรการเงินส่วนเพิ่มอัตราคงที่สำหรับเกษตรกรของสหภาพยุโรป ประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส และประเทศเยอรมนี นั้นมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นรูปแบบหรือทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาภาวะการเสียภาษีซ้ำซ้อนและการผลักภาระในรูปแบบของภาษีซื้อแอบแฝงของเกษตรกรรายย่อยได้ เนื่องจากมาตรการดังกล่าวถือเป็นการชดเชยภาษีซื้อในทอดก่อนหน้าที่เกษตรกรไม่สามารถเครดิตภาษีซื้อคืนได้ในรูปแบบของเงินส่วนเพิ่มอัตราคงที่ (Flat Rate Addition) ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระทางภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่เกษตรกรที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจากการซื้อขายสินค้าเกษตร อีกทั้งยังเป็นการลดภาระในการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการขอคืนภาษีซื้อ หรือจัดทำบัญชีเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการจัดเก็บภาษี ซึ่งจะก่อให้เกิดต้นทุนในการบริหารและควบคุมกิจการ (Compliance Cost) เพียงแต่เกษตรกรจะต้องออกใบกำกับภาษีเงินส่วนเพิ่มอัตราคงที่เท่านั้น นอกจากนี้ผู้ซื้อและลูกค้าของเกษตรกรรายย่อยสามารถนำใบกำกับภาษีเงินส่วนเพิ่มอัตราคงที่ดังกล่าวมาขอคืนเงินส่วนเพิ่มอัตราคงที่ที่ตนได้เสียให้แก่เกษตรกรรายย่อยได้ อันเป็นการส่งผลให้เกิดความสมดุลและเสริมสร้างระบบภาษีมูลค่าเพิ่มในภาพรวมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
dc.description.abstractalternative This thesis focused on studying the guideline and the principle of measures to relieve the burden of VAT cascading effect of small farmers in the EU (European Union) and members for applying to the problem of VAT exemption of farmers in Thailand (Section 81 (1) (a) and (b) of the Revenue Code). Nowadays, the EU, the group of countries, which has agricultural operation greatly, they designated The Flat Rate Scheme For Farmer which is the Special Scheme in the VAT Directive of EU laws in order that the members can apply this scheme to their domestic law. Therefore, there is a great need to study the Flat Rate Scheme for Farmers (AFRS) to find a solution and to relieve the burden of VAT cascading effect of small farmers in the different way in order to apply AFRS as a guide to improve the Revenue code of Thailand in the future. The study found that the Flat Rate Scheme for Farmers (AFRS) of EU, England, France and Germany is suitable to be used as a model to resolve the problem of VAT cascading effect of small farmers and tax shifting in the form of the hidden VAT on the price of agricultural products or services, since this scheme is the measure as compensation of Input VAT in the previous trading that farmers couldn’t deduct . The method of compensation under AFRS is in the form of flat rate addition (FRA) which helps relieve the VAT burden to farmers who are exempted from VAT in process of agricultural products trading. Also, FRA is able to reduce the burden of complying with the Value added tax law, for example, there is no obligation to make filing VAT refund or to make account to verify the accuracy of VAT filing, which is compliance cost in agricultural operation, the farmers in the Flat Rate Scheme for Farmers just issue flat rate invoice. Meanwhile, buyer or customer of the farmers in AFRS can use flat rate invoice for refunding FRA which they paid to the farmers in AFRS. As a result, AFRS will create balance and strengthen the VAT system as a whole in a more efficient way.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.675
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title การใช้มาตรการบรรเทาภาระภาษีมูลค่าเพิ่มซ้ำซ้อนให้กับเกษตรกรรายย่อย
dc.title.alternative Implementation measures to value added tax cascading effect of farmers
dc.type Thesis
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline กฎหมายการเงินและภาษีอากร
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Tashmai.R@chula.ac.th,rtashmai@yahoo.com,Tashmai.R@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2017.675


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record