Abstract:
วัยสูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ การออกกำลังกายอยํางสม่ำเสมอถูกแนะนํา ให้ ผู้สูงอายุปฏิบัติเพื่อการมีสุขภาพดี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการฝึกมิราเคิลไทชิประยุกต์ที่มีต่อสุขสมรรถนะในหญิงสูงอายุ วิธีดําเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง เป็นอาสาสมัครผู้สูงอายุเพศหญิง อายุระหว่าง 60-69 ปี จำนวน 40 คน สุ่มแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม จำนวน 12 คน กลุ่มฝึกไทชิ จำนวน 15 คน และกลุ่มฝึกมิราเคิลไทชิ ประยุกต์ จำนวน 13 คน กลุ่มฝึกออกกำลังกายทั้ง 2กลุ่ม ทำการฝึกวันละ 1 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 3 วัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างทุกคนได้รับการทดสอบสุขสมรรถนะ ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง เปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ย ของ ตัวแปรระหว่างก่อนและหลังการทดลองโดยการทดสอบค่าที แบบรายคู่ และ เปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของตัวแปรระหว่างกลุ่มทดลองโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทาง เดียว ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย ภายหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มฝึกไทชิมีค่าเฉลี่ยของความจุปอด การทรงตัว ขณะอยู่กับที่บนพื้นเรียบเปิดตาสูงขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มฝึก มิราเคิลไทชิประยุกต์มีค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ไขมันลดลง แต่มีมวลกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของต้นแขน ด้านหลัง ความแข็งแรงของต้นขาด้านหน้า ความแข็งแรงของต้นขาด้านหลัง การทรงตัวบนพื้นยืดหยุ่นปริมาตร หายใจออกใน 1 วินาที สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05โดยกลุ่ม ฝึกมิราเคิลไทชิประยุกต์มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดสูงกว่ากลุ่มฝึกไทชิ และกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การฝึกมิราเคิลไทชิประยุกต์มีผลช่วยพัฒนาสุขสมรรถนะทางกายของผู้สูงอายุได้ดีกว่าการฝึกไทชิจึงเหมาะสมที่จะเป็นทางเลือกในการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมให้ ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีขึ้น ต่อไป