Abstract:
เซลล์เอ็นยึดปริทันต์มนุษย์มีบทบาทสำคัญในการรักษาสมดุลของเนื้อเยื่อเอ็นยึดปริทันต์ภายใต้ สภาวะที่ได้รับแรงจากการบดเคี้ยว หรือแรงจากการจัดฟัน อย่างไรก็ตามกลไกการควบคุมดังกล่าวยังไม่มี ความชัดเจน สมดุลของเนื้อเยื่อเกิดจากสมดุลระหว่างการสร้างและการทำลายเมทริกซ์โปรตีนที่เป็น องค์ประกอบ เอนไซม์จึงมีบทบาทในการรักษาสมดุลของเนื้อเยื่อในส่วนของการย่อยสลาย ดังนั้น การวิจัย นี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของแรงดึงต่อการแสดงออกของเอนไซม์กลุ่มเมทริกซ์เมเทโลโปรติ เนสและตัวยับยั้งของเอนไซม์กลุ่มนี้ โดยศึกษาอิทธิพลของแรงดึงภายใต้ปัจจัยของ รูปแบบของแรง ขนาด ความถี่ และระยะเวลาที่เซลล์ได้รับแรง ทำการศึกษาในห้องปฏิบัติการ โดยใช้เซลล์เพาะเลี้ยงที่ได้จากเอ็น ยึดปริทันต์ของมนุษย์ ซึ่งกระบวนการได้มาของเซลล์ ได้ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมใน มนุษย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เซลล์ได้รับแรงจากเครื่องกำเนิดแรงดึงซึ่ง พัฒนาขึ้นเองในห้องปฏิบัติการ แรงที่ให้เป็นแรงดึงเชิงเส้นแกนเดียว ออกแบบการทดลองโดยปรับเปลี่ยน ปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกับแรง ได้แก่ รูปแบบของแรง ขนาด ความถี่ และระยะเวลา ตลอดจนศึกษาปัจจัยดังกล่าว ภายใต้สภาวะที่เติมอินเตอร์ลิวคิน -1 เพื่อเลียนแบบสภาวะการอักเสบ อาร์เอ็นเอจะถูกสกัดจากเซลล์เพื่อ ตรวจวัดการแสดงออกระดับยีนของเมทริกซ์เมเทโลโปรติเนสและตัวยับยั้งของเอนไซม์ภายใต้สภาวะที่ กำหนด ซึ่งได้ผลการวิจัยในเบื้องต้นดังนี้ รูปแบบของแรงแบบต่อเนื่องหรือแบบเป็นรอบ ให้ผลแตกต่าง สำหรับการแสดงออกของเอ็มเอ็มพี-13 ในขณะที่ขนาดของแรง ในกรณีที่ให้แรงแบบต่อเนื่อง มีผลต่อการ แสดงออกของเอ็มเอ็มพี-14 และในกรณีที่เซลล์ได้รับแรงดึงร่วมกับอินเตอร์ลิวคิน -1 พบว่า ระดับของความถี่มีผลในการรักษาระดับการแสดงออกของเอ็มเอ็มพี-2 และเอ็มเอ็มพี-3 ให้อยู่ในระดับปกติ อย่างไรก็ตามยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลการทดลอง ตลอดจนตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงในระดับโปรตีน และศึกษาต่อในส่วนของกลไกที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทั้งนี้ความเข้าใจผลอันเนื่องมาจาก อิทธิพลของแรง หรือทั้งในกรณีของการได้รับแรงร่วมกับสภาวะอักเสบ ในด้านของกลไกการควบคุมการ แสดงออกของเอนไซม์ จะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับเนื้อเยื่อปริทันต์จากการให้แรงที่ไม่ เหมาะสม