DSpace Repository

ผลของแรงดึงแบบเป็นรอบต่อระดับการแสดงออกของเอนไซม์ที่ย่อยสลายเมทริกซ์นอกเซลล์ในเซลล์ในเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์ : รายงานการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author นีรชา สารชวนะกิจ
dc.contributor.author ปิยมาศ สำเร็จกาญจนกิจ
dc.contributor.author ประสิทธิ์ ภวสันต์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-10-08T06:22:14Z
dc.date.available 2018-10-08T06:22:14Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60428
dc.description.abstract เซลล์เอ็นยึดปริทันต์มนุษย์มีบทบาทสำคัญในการรักษาสมดุลของเนื้อเยื่อเอ็นยึดปริทันต์ภายใต้ สภาวะที่ได้รับแรงจากการบดเคี้ยว หรือแรงจากการจัดฟัน อย่างไรก็ตามกลไกการควบคุมดังกล่าวยังไม่มี ความชัดเจน สมดุลของเนื้อเยื่อเกิดจากสมดุลระหว่างการสร้างและการทำลายเมทริกซ์โปรตีนที่เป็น องค์ประกอบ เอนไซม์จึงมีบทบาทในการรักษาสมดุลของเนื้อเยื่อในส่วนของการย่อยสลาย ดังนั้น การวิจัย นี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของแรงดึงต่อการแสดงออกของเอนไซม์กลุ่มเมทริกซ์เมเทโลโปรติ เนสและตัวยับยั้งของเอนไซม์กลุ่มนี้ โดยศึกษาอิทธิพลของแรงดึงภายใต้ปัจจัยของ รูปแบบของแรง ขนาด ความถี่ และระยะเวลาที่เซลล์ได้รับแรง ทำการศึกษาในห้องปฏิบัติการ โดยใช้เซลล์เพาะเลี้ยงที่ได้จากเอ็น ยึดปริทันต์ของมนุษย์ ซึ่งกระบวนการได้มาของเซลล์ ได้ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมใน มนุษย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เซลล์ได้รับแรงจากเครื่องกำเนิดแรงดึงซึ่ง พัฒนาขึ้นเองในห้องปฏิบัติการ แรงที่ให้เป็นแรงดึงเชิงเส้นแกนเดียว ออกแบบการทดลองโดยปรับเปลี่ยน ปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกับแรง ได้แก่ รูปแบบของแรง ขนาด ความถี่ และระยะเวลา ตลอดจนศึกษาปัจจัยดังกล่าว ภายใต้สภาวะที่เติมอินเตอร์ลิวคิน -1 เพื่อเลียนแบบสภาวะการอักเสบ อาร์เอ็นเอจะถูกสกัดจากเซลล์เพื่อ ตรวจวัดการแสดงออกระดับยีนของเมทริกซ์เมเทโลโปรติเนสและตัวยับยั้งของเอนไซม์ภายใต้สภาวะที่ กำหนด ซึ่งได้ผลการวิจัยในเบื้องต้นดังนี้ รูปแบบของแรงแบบต่อเนื่องหรือแบบเป็นรอบ ให้ผลแตกต่าง สำหรับการแสดงออกของเอ็มเอ็มพี-13 ในขณะที่ขนาดของแรง ในกรณีที่ให้แรงแบบต่อเนื่อง มีผลต่อการ แสดงออกของเอ็มเอ็มพี-14 และในกรณีที่เซลล์ได้รับแรงดึงร่วมกับอินเตอร์ลิวคิน -1 พบว่า ระดับของความถี่มีผลในการรักษาระดับการแสดงออกของเอ็มเอ็มพี-2 และเอ็มเอ็มพี-3 ให้อยู่ในระดับปกติ อย่างไรก็ตามยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลการทดลอง ตลอดจนตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงในระดับโปรตีน และศึกษาต่อในส่วนของกลไกที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทั้งนี้ความเข้าใจผลอันเนื่องมาจาก อิทธิพลของแรง หรือทั้งในกรณีของการได้รับแรงร่วมกับสภาวะอักเสบ ในด้านของกลไกการควบคุมการ แสดงออกของเอนไซม์ จะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับเนื้อเยื่อปริทันต์จากการให้แรงที่ไม่ เหมาะสม en_US
dc.description.abstractalternative Periodontal ligament cells play an important role in maintaining periodontal homeostasis upon mechanical loading caused by mastication or orthodontic force. However, the mechanism of the phenomenon still remains unclear. As proteolytic enzymes play roles in the degradation part of the tissue homeostatic process. The present study aims to examine the tension-induced regulation of matrix metalloproteinases and their inhibitors, TIMPs, by investigating the effect of factors regarding the tension force; pattern, magnitude, frequency and duration. The study was performed using monolayer primary culture of the human periodontal ligament cells. Approval of the Human Research Ethics Committee of the Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University and informed consent were obtained. Tensile force was introduced to the cells using stretch apparatus which developed in our laboratory. Cells were subjected to uni-axial tensile strain which programmed different strain regimens regarding the pattern, magnitude, frequency and duration. Effect of inflammation on cells under tensile strain was studied by simulating an inflammatory condition using interleukin-1β. The expressions of MMPs and TIMPs were initially analyzed by quantitative real-time PCR. The results demonstrated that tensile force, with or without interleukin-1β, have the effect on the expressions of MMPs and TIMPs, but with the different extents according to the strain regimens. The initial results suggested the role of static/cyclic tensile force on MMP-13 expression, the magnitude of the static mode of tensile force on MMP-14 expression, and the tensile frequency on MMP-2 and MMP-3 homeostasis under an inflammatory condition. Studies on the expression at the protein levels and the mechanism of action must be further investigated. A better understanding of the effect of mechanical loading alone or an interaction with inflammation in the aspect of proteolytic imbalance may raise the concern on an applied force to prevent destruction of periodontal tissues. en_US
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยเงินอุดหนุนทั่วไปจากรัฐบาล ประจำปีงบประมาณ 2557 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เอ็นยึดปริทันต์ en_US
dc.subject เมทัลโลโปรติเนส en_US
dc.subject โปรติเนส en_US
dc.title ผลของแรงดึงแบบเป็นรอบต่อระดับการแสดงออกของเอนไซม์ที่ย่อยสลายเมทริกซ์นอกเซลล์ในเซลล์ในเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์ : รายงานการวิจัย en_US
dc.title.alternative Effect of cyclic stretch on extracellular matrix proteinase expressions in human periodontal ligament fibroblasts en_US
dc.type Technical Report en_US
dc.email.author Neeracha.R@Chula.ac.th
dc.email.author Piyamas.S@Chula.ac.th
dc.email.author Prasit.Pav@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record