Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษากระบวนการ สร้างความชอบธรรมทางการเมืองของรัฐบาลลาว ระหว่างปี 1975-2003 โดยใช้แนวทางมาร์กซิสม์ในการศึกษา โดยมีเป้าหมายคือ เพื่อทราบถึงวิธีการที่รัฐบาลลาวสร้างความชอบธรรมทางการเมือง และวิพากษ์วิธีการนั้นตามมุมมองมาร์กซิสม์ ซึ่งผลการศึกษาพบว่าสร้างความชอบธรรมทางการเมืองในลาวมีลักษณะตามแนวคิดที่นำมาศึกษาดังนี้ 1. แนวคิดที่นำมาใช้สร้างความชอบธรรมทางการเมืองของรัฐาล ส.ป.ป.ลาว มีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาตามรูปแบบวิถีการผลิตทั้งในส่งโครงสร้างพื้นฐาน (base) และโครงสร้างส่วนบน (superstructure) รวมทั้ง สถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศซึ่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาไม่หยุดนิ่ง 2. การสร้างความชอบธรรมทางการเมืองเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ทางชนชั้นในลาว แนวคิดที่ถูกนำมาใช้สร้างความชอบธรรม ทางการเมืองจะถูกเลือกจากแต่ละชนชั้นเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชนชั้นตัวเอง ท่ามกลางการท้าทายจากชนชั้นอื่น 3. การสร้างความชอบธรรมทางการเมืองเป็นไปเพื่อครองความเป็นใหญ่ทางความคิด ทำให้มุมมองของชนชั้นตนเองเป็นมุมมองหลักของสังคม และยับยั้งการตระหนักถึงจิตสำนึกทางชนชั้นของชนชั้นอื่นได้ ซึ่งแต่ละแนวคิดที่รัฐบาลลาวใช้ เช่น ชาติ พุทธศาสนา สังคมนิยม กลไกตลาด และสร้างกฎหมายรัฐธรรมนูญ ก็เป็นความพยายามของชนชั้นปกครองในการปิดบังจิตสำนึกทางชนชั้นผู้ถูกปกครองในลาว