DSpace Repository

การแปรผันทางพันธุกรรมและการประเมินความเป็นไปได้ในการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างอึ่งน้ำเต้า (Microhyla fissipes) อึ่งข้างดำ (M. heymonsi) และอึ่งลายเลอะ (M. butleri) ในพื้นที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี โดยใช้นิวเคลียร์ยีนเป็นดีเอ็นเอเครื่องหมายในการตรวจ : รายงานผลการดำเนินงาน

Show simple item record

dc.contributor.author อัมพร วิเวกแว่ว
dc.contributor.author วิเชฏฐ์ คนซื่อ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-10-30T03:12:46Z
dc.date.available 2018-10-30T03:12:46Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60470
dc.description.abstract อึ่งน้ำเต้า (Microhyla fissipes) อึ่งข้างดำ (M. heymonsi) และอึ่งลายเลอะ (M. butleri) จัดเป็นสัตว์ สะเทินน้ำสะเทินบกที่อยู่ในสกุลเดียวกัน มีขนาดตัวใกล้เคียงกันและมีการกระจายอยู่ในทุกภาคของประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้สนใจตรวจสอบความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน 28S rRNA และประเมินความเป็นไปได้ใน การเกิดการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างอึ่งทั้งสามชนิดในพื้นที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี โดยนำอึ่งน้ำเต้า จำนวน 19 ตัว อึ่งข้างดำจำนวน 10 ตัว และอึ่งลายเลอะจำนวน 6 ตัว มาสกัดดีเอ็นเอ เพิ่มปริมาณยีน 28S rRNA ในนิวเคลียร์ดีเอ็นเอโดยใช้เทคนิคพีซีอาร์และหาลำดับนิวคลีโอไทด์ ผลการศึกษาพบว่าผลิตภัณฑ์พีซีอาร์ของอึ่งทั้งสามชนิดจำนวน 34 ตัวอย่างให้ผล sequencing ชัดเจนและน่าเชื่อถือ โดยลำดับนิวคลีโอไทด์ที่ได้มีความยาว 739 คู่เบส จากการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ด้วยโปรแกรม DnaSP พบจำนวนแฮพโพลไทป์ที่แตกต่างกันจำนวน 3 แฮพโพลไทป์ ที่มีความแปรผันทางพันธุกรรมจำนวน 9 (1.22%) ตำแหน่ง มีค่าความหลากหลายของแฮพโพลไทป์ และค่าความหลากหลายของนิวคลีโอไทด์ไม่สูงมาก โดยเฉลี่ยเท่ากับ 0.620 ± 0.053 และ 0.00558 ± 0.00053 ตามลำดับ ระยะห่างทางพันธุกรรมระหว่างประชากรของอึ่งทั้งสามชนิดอยู่ระหว่าง 0.007 ถึง 0.011 แสดงว่าอึ่ง ทั้งสามชนิดมีความแตกต่างกันทางพันธุกรรมของยีน 28S rRNA แต่ความแตกต่างดังกล่าวค่อนข้างต่ำ จาก การศึกษาความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการพบว่าอึ่งน้ำเต้า อึ่งข้างดำ และอึ่งลายเลอะมีความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการ เป็นแบบ monophyletic group และไม่พบการเกิด gene flow หรือ introgression ของนิวเคลียร์ดีเอ็นเอ ระหว่างประชากรของอึ่งทั้งสามชนิด en_US
dc.description.abstractalternative Ornate chorus frog (Microhyla fissipes), dark-sided chorus frog (M. heymonsi) and noisy chorus frog (M. butleri) are amphibians of the same genus. They are similar in body size, found all over Thailand and share their habitats. This study aims to investigate genetic variation and detect possible natural hybridization among these three microhylid frogs in Khao Khew Open Zoo area, Chonburi province. Nineteen M. fissipes, ten M. heymonsi and six M. butleri individuals were used for DNA extraction, PCR amplification of 28S rRNA gene and DNA sequencing. The results showed that only thirty-four samples had reliable 28S rRNA sequences. By using DnaSP program, we found 9 variable sites (1.22%) from 739 bps of the aligned sequences, resulting in 3 unique haplotypes. Overall diversity indices were 0.620 ± 0.053 and 0.00558 ± 0.00053 for haplotype diversity and nucleotide diversity respectively. The genetic distance between populations ranged from 0.007 to 0.011, indicating low genetic variation among the analyzed populations. Moreover, analysis of phylogenetic relationships revealed that M. fissipes, M. heymonsi and M. butleri are monophyletic with no detections of gene flow between species. en_US
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดินปี 2558 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject อึ่งน้ำเต้า en_US
dc.subject อึ่งข้างดำ en_US
dc.subject อึ่งลายเลอะ en_US
dc.subject สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ en_US
dc.title การแปรผันทางพันธุกรรมและการประเมินความเป็นไปได้ในการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างอึ่งน้ำเต้า (Microhyla fissipes) อึ่งข้างดำ (M. heymonsi) และอึ่งลายเลอะ (M. butleri) ในพื้นที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี โดยใช้นิวเคลียร์ยีนเป็นดีเอ็นเอเครื่องหมายในการตรวจ : รายงานผลการดำเนินงาน en_US
dc.title.alternative Genetic variation and genetic assessment of possible natural hybridization among Microhyla fissipes, M. heymonsi and M. butleri in Khao Khew Open Zoo, Chonburi province using nuclear gene as DNA marker en_US
dc.type Technical Report en_US
dc.email.author Amporn.W@Chula.ac.th
dc.email.author Wichase.K@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record