Abstract:
การศึกษาโครงสร้างของสังคมพืชในป่าเต็งรังตามธรรมชาติและพื้นที่ฟื้นฟูระบบนิเวศบริเวณพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-สระบุรี อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ฟื้นฟูด้วยการปลูกต้นกล้าสักสยามินทร์ และพื้นที่ฟื้นฟูด้วยต้นกล้าวงศ์ยางนาที่ชุบรากในเชื้อไมคอร์ไรซา การเก็บข้อมูลโครงสร้างสังคมพืชพบไม้ยืนต้นในพื้นที่ป่าเต็งรังธรรมชาติ จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ รัง (Dipterocapus siamensis) โมก (Wrightea arborea) ตะคร้อ (Schleichera oleosa) และ แสลงใจ (Strychnos nux-vomica) ไม้ยืนต้นที่พบส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก มวลชีวภาพเหนือพื้นดินของพื้นดินของไม้ยืนต้น 55.17 ตันต่อเฮกแตร์ แสดงให้เห็นว่าป่าเต็งรังนี้กำลังฟื้นตัวจากการรบกวนในอดีต พื้นที่ฟื้นฟูด้วยต้นกล้าสัก (Tectona grandis) พบต้นกล้า 9 ต้นซึ่งมีอัตราการอยู่รอดร้อยละ 78 จากเดือนมีนาคม ถึงกันยายน 2558 และพื้นที่ฟื้นฟูด้วยต้นกล้าวงศ์ยางนา พบต้นกล้าตะเคียน (Hopea odorata) และต้นกล้ายางนา (Dipterocarpus alatus) ซึ่งมีอัตราการอยู่รอดร้อยละ 78 และ 45 ตามลำดับ พื้นที่ฟื้นฟูระบบนิเวศทั้ง 2 บริเวณมีการปกคลุมของพืชคลุมดินตลอดระยะเวลาการศึกษา ลักษณะทางกายภาพของดินและปริมาณธาตุอาหารในดินมีความแตกต่างกันระหว่างพื้นที่และช่วงเวลาที่เก็บ การติดตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมพืชจะเป็นตัวชี้วัดแสดงถึงผลของการฟื้นฟูระบบนิเวศ