Abstract:
เชื้อไวรัสชิคุนกุนยาเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยในคนโดยที่มียุงเป็นแมลงพาหะนำโรค การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของสัตว์เลี้ยงในระบาดวิทยาของเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา โดยทำการศึกษาไวรัสชิคุนกุนยาในกระแสเลือดของสัตว์ปีกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยใช้ลูกไก่และหนูไมซ์เป็นสัตว์ทดลองต้นแบบ ทำการฉีดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2553 (Thailand 2010 strain) และสายพันธุ์ที่เคยระบาดในประเทศไทยในอดีตซึ่งเป็นเชื้อมาตรฐานอ้างอิง (Ross/186 strain) ให้กับสัตว์ทดลองในปริมาณที่แตกต่างกัน โดยทำการฉีดเชื้อไวรัสจำนวน 10⁴, 10⁶ และ 10⁸ CID₅₀ ให้กับหนูไมซ์อายุ 4 และ 6 สัปดาห์ หลังจากนั้นทำการเจาะเลือดจากหนูทุกวันเป็นเวลา 7 วัน และทำการฉีดเชื้อไวรัสจำนวน 10⁸ CID₅₀ ให้กับหนูไมซ์อายุ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นทำการเจาะเลือดจากหนูไมซ์ทุกวันเป็นเวลา 5 วัน สำหรับในลูกไก่นั้น ทำการฉีดเชื้อไวรัสทั้งสองสายพันธุ์ จำนวน 10² 10⁴, 10⁶ และ 10⁸ CID₅₀ ให้กับลูกไก่อายุ 5 วัน หลังจากนั้นทำการเจาะเลือดจากลูกไก่ทุกวันเป็นเวลา 7 วัน การตรวจหาเชื้อไวรัสในตัวอย่างซีรั่มทั้งหมดจะใช้วิธี reverse transcription polymerase chain reaction (RT-PCR) จากการศึกษานี้พบเชื้อในกระแสเลือดของหนูไมซ์อายุ 2 และ 4 สัปดาห์ ที่ได้รับเชื้อไวรัสทั้งสองสายพันธุ์จำนวน 10⁸ CID₅₀ โดยพบว่าหนูไมซ์อายุ 4 สัปดาห์ เมื่อได้รับเชื้อไวรัสทั้งสองสายพันธุ์จะพบเชื้อในกระแสเลือดเพียง 3 วัน หลังจากที่ได้รับเชื้อเท่านั้น ในหนูไมซ์ที่ได้รับเชื้อสายพันธุ์ Ross/186 จะพบการเชื้อในกระแสเลือดอยู่ที่ร้อยละ 60, 100 และ 60 ในวันที่ 1, 2 และ 3 หลังจากที่ได้รับเชื้อตามลำดับ และในหนูไมซ์ที่ได้รับเชื้อสายพันธุ์ Thailand 2010 จะพบเชื้อในกระแสเลือดอยู่ที่ร้อยละ 80, 80 60 ในวันที่ 1. 2 และ 3 หลังจากที่ได้รับเชื้อตามลำดับ สำหรับหนูไมซ์อายุ 2 สัปดาห์ นั้นเมื่อได้รับเชื้อสายพันธุ์ Ross/186 จะพบเชื้อในกระแสเลือดอยู่ที่ร้อยละ 100. 100. 50. 83 และ 100 ในวันที่ 1. 2. 3. 4 และ 5 หลังจากที่ได้รับเชื้อ ตามลำดับ และในหนูไมซ์ที่ได้รับเชื้อสายพันธุ์ Thailand 2010 จะพบเชื้อในกระแสเลือดอยู่ที่ร้อยละ 90, 100 และ 67 ในวันที่ 1, 2 และ 3 หลังจากที่ได้รับเชื้อตามลำดับ