DSpace Repository

บทบาทของยุงพาหะนำโรคและสัตว์เลี้ยงในระบาดวิทยาของเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา

Show simple item record

dc.contributor.author สนธยา เตียวศิริทรัพย์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-11-07T06:14:06Z
dc.date.available 2018-11-07T06:14:06Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60551
dc.description.abstract เชื้อไวรัสชิคุนกุนยาเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยในคนโดยที่มียุงเป็นแมลงพาหะนำโรค การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของสัตว์เลี้ยงในระบาดวิทยาของเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา โดยทำการศึกษาไวรัสชิคุนกุนยาในกระแสเลือดของสัตว์ปีกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยใช้ลูกไก่และหนูไมซ์เป็นสัตว์ทดลองต้นแบบ ทำการฉีดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2553 (Thailand 2010 strain) และสายพันธุ์ที่เคยระบาดในประเทศไทยในอดีตซึ่งเป็นเชื้อมาตรฐานอ้างอิง (Ross/186 strain) ให้กับสัตว์ทดลองในปริมาณที่แตกต่างกัน โดยทำการฉีดเชื้อไวรัสจำนวน 10⁴, 10⁶ และ 10⁸ CID₅₀ ให้กับหนูไมซ์อายุ 4 และ 6 สัปดาห์ หลังจากนั้นทำการเจาะเลือดจากหนูทุกวันเป็นเวลา 7 วัน และทำการฉีดเชื้อไวรัสจำนวน 10⁸ CID₅₀ ให้กับหนูไมซ์อายุ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นทำการเจาะเลือดจากหนูไมซ์ทุกวันเป็นเวลา 5 วัน สำหรับในลูกไก่นั้น ทำการฉีดเชื้อไวรัสทั้งสองสายพันธุ์ จำนวน 10² 10⁴, 10⁶ และ 10⁸ CID₅₀ ให้กับลูกไก่อายุ 5 วัน หลังจากนั้นทำการเจาะเลือดจากลูกไก่ทุกวันเป็นเวลา 7 วัน การตรวจหาเชื้อไวรัสในตัวอย่างซีรั่มทั้งหมดจะใช้วิธี reverse transcription polymerase chain reaction (RT-PCR) จากการศึกษานี้พบเชื้อในกระแสเลือดของหนูไมซ์อายุ 2 และ 4 สัปดาห์ ที่ได้รับเชื้อไวรัสทั้งสองสายพันธุ์จำนวน 10⁸ CID₅₀ โดยพบว่าหนูไมซ์อายุ 4 สัปดาห์ เมื่อได้รับเชื้อไวรัสทั้งสองสายพันธุ์จะพบเชื้อในกระแสเลือดเพียง 3 วัน หลังจากที่ได้รับเชื้อเท่านั้น ในหนูไมซ์ที่ได้รับเชื้อสายพันธุ์ Ross/186 จะพบการเชื้อในกระแสเลือดอยู่ที่ร้อยละ 60, 100 และ 60 ในวันที่ 1, 2 และ 3 หลังจากที่ได้รับเชื้อตามลำดับ และในหนูไมซ์ที่ได้รับเชื้อสายพันธุ์ Thailand 2010 จะพบเชื้อในกระแสเลือดอยู่ที่ร้อยละ 80, 80 60 ในวันที่ 1. 2 และ 3 หลังจากที่ได้รับเชื้อตามลำดับ สำหรับหนูไมซ์อายุ 2 สัปดาห์ นั้นเมื่อได้รับเชื้อสายพันธุ์ Ross/186 จะพบเชื้อในกระแสเลือดอยู่ที่ร้อยละ 100. 100. 50. 83 และ 100 ในวันที่ 1. 2. 3. 4 และ 5 หลังจากที่ได้รับเชื้อ ตามลำดับ และในหนูไมซ์ที่ได้รับเชื้อสายพันธุ์ Thailand 2010 จะพบเชื้อในกระแสเลือดอยู่ที่ร้อยละ 90, 100 และ 67 ในวันที่ 1, 2 และ 3 หลังจากที่ได้รับเชื้อตามลำดับ en_US
dc.description.abstractalternative Chikungunya virus (CHIKV) is a pathogen that causes an illness in humans and mosquito is an insect vector for this virus. Aim of this study is to study roles of domestic animals in the epidemiology of this virus. Chikungunya virus infection in avian and mammal were studied by using baby chickens and mice as model animals. Two strains of CHIKV were used in this study; Thailand 2010 and Ross/186 strain (reference strain). Different amount of CHIKV was inoculated to the tested animals by needle injection. 10⁴. 10 ⁶ and 10⁸ CID₅₀ of CHIKV was inoculated to four-and six-week-old mice. Blood was collccted and tested for virus for seven days. 10⁸ CID₅₀ of CHIKV was inoculated to two-week-old mice. Blood was collected and tested for virus for five days. For the baby chickens, 10², 10⁴, 10⁶ and 10⁸ CID₅₀ of CHIKV was inoculated to five-day-old baby chickens. Blood was collected and tested for virus for seven days. Serum samples were tested for CHIKV by reverse transcription polymerase chain reaction (RT-PCR). CHIKV were only found in two-and four-week-old mice that were inoculated with 10⁸ CID₅₀ of CHIKV. Virus was found for three days in four-week-old mice after inoculation. The percentage of Ross/ 186 strain of CHIKV in four-week-old mice were 60. 100 and 60% on day 1, 2 and 3 post injection (PI), respectively. The percentage of Thailand 2010 strain of CHIKV in four-week-old mice were 80, 80 and 60 % on day I, 2 and 3 PI. Respectively. The percentage of Ross/ 186 strain of CHIKV in two-week-old mice were 100, 100. 5O, 83 and 100 % on day I, 2, 3, 4 and 5 PI. Respectively. The percentage of Thailand 2010 strain of CHIKV in two-week-old mice were 90,100 and 67% on day 1, 2 and 3 PI, respectively. en_US
dc.description.sponsorship ได้รับทุนสนับสนุนกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช ปีงบประมาณ 2553 สัญญาเลขที่: R_015_2553 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ชิคุนกุนยา -- ระบาดวิทยา en_US
dc.subject ยุงพาหะนำโรค en_US
dc.subject โรคติดต่อ -- การแพร่ระบาด en_US
dc.subject Chikungunya -- Epidemiology en_US
dc.subject Mosquitoes as carriers of disease en_US
dc.subject Communicable diseases -- Transmission en_US
dc.title บทบาทของยุงพาหะนำโรคและสัตว์เลี้ยงในระบาดวิทยาของเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา en_US
dc.title.alternative Roles of mosquito vectors and domestic animals in the epidemiology of Chikungunya virus en_US
dc.type Technical Report en_US
dc.email.author Sonthaya.T@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2012.1


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record