DSpace Repository

สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร กรณีนิติบุคคลถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor วุฒิพงษ์ ศิริจันทรานนท์
dc.contributor.author ชไมพร อยู่สุข
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-11-21T07:25:24Z
dc.date.available 2018-11-21T07:25:24Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60592
dc.description เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 en_US
dc.description.abstract เอกัตศึกษาเรื่อง “สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร กรณีนิติบุคคลถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการ” มุ่งศึกษาแนวทางในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรแก่นิติบุคคลผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการ เพื่อเป็นการเยียวยาปัญหาเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนที่ไม่เหมาะสม และส่งเสริมให้มีการประกอบธุรกิจอย่างต่อเนื่องตามวัตถุประสงค์ของกิจการต่อไปทั้งนี้ยังเป็นไปตามหลักการบริหารภาษีอากรที่ดี จากการศึกษาพบประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับนิติบุคคลผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการ ดังนี้ 1.นิติบุคคลได้รับความเดือดร้อนจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แตกต่างกันไปในแต่ละกิจการตามความสำคัญของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนนั้นที่มีต่อกิจการ โดยนิติบุคคลต้องเตรียมตัวดำเนินการต่างๆ เพื่อให้สามารถยังคงดำเนินธุรกิจของตนต่อไปได้ตามวัตถุประสงค์ และมีกำไรตามเป้าหมาย ทั้งเรื่องที่ตั้งสถานประกอบการ แรงงาน ทุน และการบริหารจัดการภายในองค์กร อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจการโดยตรง ได้แก่ แรงงาน ลูกค้า คู่ค้า ผู้ถือหุ้น และบุคคลอื่นๆ โดยรวมส่งผลกระทบต่อการลงทุนจากต่างประเทศ การผลิตหรือการให้บริการของประเทศ การบริโภคของประชาชน การจ้างแรงงาน การกระจายรายได้ และการดำรงชีวิตอยู่อย่างสงบสุขของคนในสังคม 2.ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่รัฐนำมาใช้เป็นราคาพื้นฐานในการคำนวณเงินค่าทดแทนสำหรับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จากประชาชน เป็นราคาประเมินทุกๆ 4 ปี และส่วนใหญ่มักจะต่ำกว่าราคาตลาด เพื่อเป็นการลดค่าธรรมเนียมและภาษีอากรที่ประชาชนต้องจ่ายแก่รัฐ ทำให้ราคาประเมินไม่ได้สะท้อนมูลค่าตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาอย่างแท้จริง ส่งผลให้เงินค่าทดแทนที่ผู้ถูกเวนคืนได้รับอาจต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งนำไปสู่ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในสังคม อีกทั้งโครงการบริการสาธารณะต่างๆ ของรัฐที่ต้องดำเนินการหลังจากการเวนคืนก็จะเกิดความล่าช้าและได้รับความเสียหาย 3.นิติบุคคลผู้ถูกเวนคืนมีภาระภาษีที่เกิดจากเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย จากจำนวนเงินค่าทดแทนการเวนคืนที่รัฐจ่าย โดยถือเป็นเครดิตภาษีและภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรจากการโอนอสังหาริมทรัพย์นั้น จากการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับนิติบุคคลผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการข้างต้น ประกอบกับการศึกษากฎหมายการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และกฎหมายภาษีอากรที่เกี่ยวข้อง จึงเห็นควรให้มีการกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรสำหรับกรณีดังกล่าวโดยเฉพาะเพื่อเยียวยาปัญหาเงินค่าทดแทนการเวนคืนที่ไม่เหมาะสม และส่งเสริมให้นิติบุคคลมีการประกอบธุรกิจอย่างต่อเนื่องต่อไป en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.32
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ทรัพย์สิน en_US
dc.subject การเวนคืนที่ดิน en_US
dc.title สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร กรณีนิติบุคคลถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการ en_US
dc.type Independent Study en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline กฎหมายเศรษฐกิจ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.subject.keyword อสังหาริมทรัพย์ en_US
dc.subject.keyword การเวนคืน en_US
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2017.32


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record