dc.contributor.advisor |
ปาลนี อัมรานนท์ |
|
dc.contributor.author |
ประกายมาส บุพอังกูร |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2018-12-03T02:07:25Z |
|
dc.date.available |
2018-12-03T02:07:25Z |
|
dc.date.issued |
2558 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60655 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
|
dc.description.abstract |
ชุดนิวคลิอิกแอซิดแลเทอรัลโฟล (Nucleic Acid Lateral Flow, NALF) เป็นเทคนิคทางเลือกหนึ่งในการตรวจหาสารพันธุกรรม ใช้ระยะเวลาทำการทดสอบสั้น อ่านผลได้เร็ว มีความไวและต้นทุนต่ำ แต่ยังมีข้อจำกัดหลายอย่างโดยเฉพาะการอ่านผลด้วยตาเปล่าที่เส้นทดสอบและเส้นควบคุมซึ่งทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ด้วยเหตุนี้ความเข้มของเส้นทดสอบจึงมีความสำคัญต่อการแปลผลซึ่งขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อชุด NALF ได้แก่ ชนิดของ oligonucleotide probe, ความยาวคลื่นและระยะเวลาที่ผ่านแสงอัลตราไวโอเลตด้วยเครื่อง UV crosslink และขนาดอนุภาคทองนาโน และนำผลการศึกษามาพัฒนาชุด NALF เพื่อใช้หาปริมาณไวรัสเอชไอวีในกระแสเลือดโดย probe ถูกออกแบบให้มีความจำเพาะกับสายนิวคลิโอไทด์เป้าหมายส่วน reverse transcriptase gene (RT gene) ของเชื้อไวรัสเอชไอวี 1 ทดสอบกับปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการอ่านผลด้วยตาเปล่าเพื่อให้ได้ส่วนประกอบของชุด NALF ที่เหมาะสมในการพัฒนาเป็นชุดตรวจ ผลการศึกษาปัจจัยด้าน probe คู่กับการใช้ UV crosslink พบว่า biotin probe และ UV crosslink ที่ 254 นาโนเมตร 60 วินาที ให้ความเข้มเฉลี่ยของเส้นทดสอบสูงกว่าที่ 302 และ 365 นาโนเมตร แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.001) ผลการทดสอบในกลุ่ม non-biotin probe และ UV crosslink ให้ความเข้มสูงสุดที่ 365 นาโนเมตร 45 วินาที แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.5839) เมื่อเปรียบเทียบความเข้มเฉลี่ยของเส้นทดสอบ 2 กลุ่ม กลุ่ม biotin probe ให้ความเข้มของเส้นทดสอบสูงกว่ากลุ่ม non-biotin probe 1.57 เท่า ปัจจัยด้านขนาดของอนุภาคทองนาโนพบว่าขนาด 10 นาโนเมตร ให้ความเข้มสูงกว่าขนาด 20, 30 และ 50 นาโนเมตร ปัจจัยของ probe ที่ตรึงกับอนุภาคทองนาโนพบว่าการใช้ thiol conjugate probe ตรึงกับอนุภาคทองนาโนขนาด 10 นาโนเมตร ให้ความเข้มสูงกว่าขนาด 20 นาโนเมตร และให้ความเข้มสูงกว่าการใช้ non-thiol conjugate probe นำผลที่ให้ความเข้มสูงสุดมาเตรียมชุด NALF โดยประกอบด้วยอนุภาคทองนาโนขนาด 10 นาโนเมตร ตรึงด้วย thiol conjugate probe เตรียมเส้นทดสอบและเส้นควบคุมด้วย biotin probe และ UV crosslink ที่ 254 นาโนเมตร 60 วินาที ผลการทดสอบกับสิ่งส่งตรวจจำนวน 16 ตัวอย่างแบ่งเป็นตัวอย่างที่มีค่าไวรัสในกระแสเลือดน้อยกว่า 20 copies/mL จำนวน 5 ตัวอย่างและมากกว่า 20 copies/mL จำนวน 11 ตัวอย่าง โดยนำซีดีเอ็นเอทดสอบกับชุด NALF ให้ผลลบ 5 ตัวอย่าง ในตัวอย่างที่มีค่าไวรัสในกระแสเลือดน้อยกว่า 20 copies/mL ให้ผลบวก 5 ตัวอย่าง และให้ผลลบ 6 ตัวอย่าง ในตัวอย่างที่มีค่าไวรัสในกระแสเลือดมากกว่า 20 copies/mL ผลบวกพบแถบสีแดงที่ตำแหน่งเส้นทดสอบจาง อ่านผลด้วยตาเปล่ายาก ความเข้มของเส้นทดสอบไม่ขึ้นกับปริมาณไวรัสในกระแสเลือด จากการศึกษาพบว่าชุด NALF มีความไวต่ำไม่เหมาะนำมาใช้ตรวจติดตามผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรมีการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมก่อนทดสอบและเพิ่มปริมาณตัวอย่างในการศึกษาเพิ่มเติม |
|
dc.description.abstractalternative |
Nucleic acid lateral flow strip test (NALF) is another technique for the detection of nucleic acid. This assay has been proposed as a rapid, sensitivity, easy to used and inexpensive. However, the pitfall of NALF is the interpretation by naked eye. The sensitivity of NALF depends on intensity of test line. The objective of this study is to evaluate of the NALF’s factors influencing performance to obtain the optimal condition for test line’s intensity by naked eye and apply for diagnostic testing. The objective of this study is to evaluate of the NALF’s factors influencing performance, such as type of oligonucleotide probe, UV wavelength, exposure time and size of gold nanoparticles (AuNPs). The results showed biotin probe in combination with UV crosslink at 254 nm 60 second was significantly higher than others wavelength (p-value = 0.001). Non-biotin probe in combination with UV crosslink group showed the highest intensity at 365 nm 45 second (p-value = 0.5839). Biotin probe showed higher intensity in average when compared to non-biotin probe by 1.57 times. The 10 nm AuNPs showed the highest intensity when compared to 20, 30 and 50 nm. Thiol conjugate probe were treated with 10 nm AuNPs, that gave higher intensity than 20 nm AuNPs of thiol conjugate probe and also higher than 10 and 20 nm AuNPs of non-thiol conjugate probe. The data indicated that 10 nm AuNPs with thiol conjugate probe and biotin probe in combination with UV crosslink at 254 nm 60 second gave the highest intensity of test line. The optimal NALF was used in HIV viral load detection. 16 samples from HIV patient was divided into 5 samples of HIV viral load (VL) <20 copies/mL and 11 samples of VL >20 copies/mL. The negative results showed 5 samples in VL <20 copies/mL. In VL >20 copies/mL samples showed 5 positive results and 6 negative results. NALF had low sensitivity for HIV viral load detection. Therefore, further study should be performed in the amplification step for sensitivity enhancement. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.440 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
เลือด -- การตรวจ |
|
dc.subject |
Blood -- Analysis |
|
dc.subject.classification |
Health Professions |
|
dc.title |
การใช้อนุภาคทองนาโนในการตรวจหาปริมาณไวรัสในกระแสเลือดของผู้ติดเชื้อเอชไอวี |
|
dc.title.alternative |
HIV viral load detection by gold nanoparticle approaches |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
วิทยาศาสตร์ระดับโมเลกุลทางจุลชีววิทยาทางการแพทย์และวิทยาภูมิคุ้มกัน |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.email.advisor |
Palanee.A@Chula.ac.th |
|
dc.subject.keyword |
HIV VIRAL LOAD |
|
dc.subject.keyword |
GOLD NANOPARTICLES |
|
dc.subject.keyword |
NUCLEIC ACID LATERAL FLOW STRIP TEST |
|
dc.subject.keyword |
UV CROSSLINK |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2015.440 |
|