DSpace Repository

การศึกษาความสัมพันธ์ของระดับวิตามินดี ต่อความหนาแน่นมวลกระดูก ในคนไข้มะเร็งเต้านมชนิดมีตัวรับฮอร์โมนระยะที่หนึ่ง ถึง ระยะที่สาม ในวัยหมดประจำเดือนที่ได้รับการรักษาเสริมภายหลังการผ่าตัดด้วยยาอะโรมาเทส อินฮิบิเตอร์มาเป็นระยะเวลา 1 ปี หรือ 2 ปี        

Show simple item record

dc.contributor.advisor สืบพงศ์ ธนสารวิมล
dc.contributor.author ณัฏยา สินทวิชัย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-12-03T02:33:33Z
dc.date.available 2018-12-03T02:33:33Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60756
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ เนื่องจากยาอะโรมาเทส อินฮิบิเตอร์อาจเพิ่มความเสี่ยงของการลดลงของความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone mineral density) ในคนไข้มะเร็งเต้านมวัยหมดประจำเดือน ในกลุ่ม hormonal receptor-positiveซึ่งคนไข้ส่วนใหญ่จะได้รับวิตามินดี และแคลเซียมเสริมตามคำแนะนำของแนวทางการปฏิบัติส่วนใหญ่ การศึกษาวิจัยนี้จึงทำขึ้นเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระดับวิตามินดี และการเปลียนแปลงความหนาแน่นมวลกระดูกในคนไข้กลุ่มนี้ วิธีการวิจัย การศึกษาแบบ การวิจัยเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-Sectional Analytic Studies) โดยเก็บข้อมูลคนไข้มะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาเสริมด้วยยาอะโรมาเทส อินฮิบิเตอร์ ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตั้งแต่ 1 มกราคม 2557 ถึง 31 ธันวาคม 2559 โดยเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของความหนาแน่นมวลกระดูกในคนไข้ที่มีระดับวิตามินดี เพียงพอ (ระดับวิตามินดีมากกว่าหรือเท่ากับ 30 ng/mL) และ ภาวะพร่องวิตามินดี (ระดับวิตามินดีน้อยกว่า 30 ng/mL ) ผลการศึกษา ไม่พบความแตกต่างกันของการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นมวลกระดูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มคนไข้ที่มีระดับวิตามินดีเพียงพอและพร่องวิตามินดีใน คนไข้มะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาเสริมด้วยยาอะโรมาเทส อินฮิบิเตอร์มาเป็นเวลา 1-2 ปี ระดับวิตามินดีเฉลี่ยคือ 24.3 ng/mL,ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 7.4 ng/mL  โดยมีผู้ป่วยจำนวน 17(26%) คน และ 33 (52%) คน มีภาวะขาดวิตามินดี และ พร่องวิตามินดี ตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นมวลกระดูกในบริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอว, สะโพก, กระดูกต้นขา และกระดูกแขน คิดเป็น -1.42 ±5.51 %, -1.92±3.91% , -2.25±3.69 % and -3.04 ± 4.51 % ตามลำดับ สรุปผลการศึกษา จากข้อมูลยังไม่สามารถสรุปได้ว่าระดับวิตามินดี 25(OH)D มีผลกับอัตราการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของมวลกระดูกในช่วง 1-2 ปีแรก ภายหลังการได้รับการรักษาด้วยยาอะโรมาเทส อินฮิบิเตอร์ และได้รับวิตามินดีเสริมในคนไข้มะเร็งเต้านมระยะ 1-3 ที่อยู่ในระยะหมดประจำเดือน
dc.description.abstractalternative Purpose: Aromatase inhibitors (AIs) increase bone loss in postmenopausal women with hormonal positive breast cancer. Most clinical practice guidelines suggest vitamin D and calcium supplementation. We conducted this study to explore the correlation between serum 25(OH)D and BMD change in postmenopausal women with hormone receptor positive early breast cancer receiving AIs as an adjuvant hormonal therapy. Methods: We enrolled postmenopausal patients with hormone receptor positive early breast cancer receiving AIs from January 2014 through December 2016 at the King Chulalongkorn Memorial Hospital. Serum 25(OH)D level and BMD study were performed during  second year of AIs. Result: The mean serum 25(OH)D was 24.3 ng/mL, standard deviation (SD) 7.4 ng/mL.  Despite of vitamin D supplementation, 17(26%) and 33 (52%) patients had vitamin D deficiency and insufficiency, respectively . BMD change of lumbar spine , hip, femoral neck and radius in all patient  were -1.42 ±5.51 %, -1.92±3.91% , -2.25±3.69 % and -3.04 ± 4.51 %, respectively There was no statistical significance of difference of mean BMD change between patients with serum 25(OH)D <30 ng/mL and ≥30 ng/mL.  There was one fifth of patients had significant BMD change, similarly between the two groups. Conclusion: Our findings did not indicate any correlation between serum 25(OH)D level and short-term BMD change in postmenopausal patients with early breast cancer receiving AIs.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1259
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ยา -- ผลข้างเคียง
dc.subject มะเร็ง -- การรักษาด้วยยา
dc.subject กระดูกพรุนในสตรี
dc.subject Drug -- Side effects
dc.subject Osteoporosis in women
dc.subject.classification Health Professions
dc.title การศึกษาความสัมพันธ์ของระดับวิตามินดี ต่อความหนาแน่นมวลกระดูก ในคนไข้มะเร็งเต้านมชนิดมีตัวรับฮอร์โมนระยะที่หนึ่ง ถึง ระยะที่สาม ในวัยหมดประจำเดือนที่ได้รับการรักษาเสริมภายหลังการผ่าตัดด้วยยาอะโรมาเทส อินฮิบิเตอร์มาเป็นระยะเวลา 1 ปี หรือ 2 ปี        
dc.title.alternative Correlation between of 25-hydroxyvitamin D (25(OH)D) level and bone mineral density (BMD) in postmenopausal women with stage I-III hormone receptor-positive breast cancer who receive AIs as an adjuvant hormonal therapy after breast surgery for 1 year or 2 years 
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor surbpong.t@chula.ac.th
dc.subject.keyword BONE LOSS
dc.subject.keyword AROMATASE INHIBITOR
dc.subject.keyword VITAMIN D DEFICIENCY
dc.subject.keyword VITAMIN D INSUFFICIENCY
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.1259


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record