DSpace Repository

ผลกระทบของระดับความเครียดต่อค่าโมดูลัสซีแคนท์แบบไม่ระบายน้ำของดินเหนียวกรุงเทพ

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุพจน์ เตชวรสินสกุล
dc.contributor.author ศรัญ สุนิรันดร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-12-03T02:59:29Z
dc.date.available 2018-12-03T02:59:29Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60848
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
dc.description.abstract เป็นที่ทราบกันดีว่าการทดสอบแรงอัดสามแกนเป็นหนึ่งในการทดสอบที่ได้รับความนิยมและมีความสำคัญในทางธรณีวิทยา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบเครื่องมือและรูปแบบในการทดสอบเพิ่มเติมนอกเหนือจากการทดสอบตามมาตรฐานเพื่อทดสอบวัดการเปลี่ยนแปลงค่าโมดูลัสของยังในมวลดินจากผลกระทบของความเครียดในระดับต่ำๆ โดยมุ่งเน้นไปที่การนำอุปกรณ์การทดสอบที่มีในห้องปฏิบัติการมาปรับปรุงและประกอบให้เป็นเครื่องมือทดสอบแรงอัดสามแกนที่สามารถใช้ได้จริงและสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น การปรับเปลี่ยนตำแหน่งของเสาแกนทั้ง 3 เสา ให้เข้าไปอยู่ภายในกระบอกทดสอบ เมื่อเตรียมตัวอย่างเสร็จสิ้นจึงจะครอบกระบอกทดสอบแล้วปิดด้วยส่วนวงแหวนเหล็กป้องกันการสูญเสียความดัน ตัวกระบอกสำหรับประคองแท่งพิสตันถูกออกแบบให้มีลูกปืนและยางสำหรับปิดกั้นน้ำและแรงดันในขณะการทดสอบ การออกแบบระบบการดูดเพื่อช่วยให้ตัวอย่างอิ่มตัวด้วยน้ำได้เร็วและมีเปอเซนต์การอิ่มตัวสูงใกล้เคียง 100 เปอร์เซนต์ ในงานวิจัยนี้เลือกการทดสอบอัดตัวคายน้ำที่ไม่มีการระบายน้ำมาใช้ในการทดสอบ โดยใช้ตัวอย่างดินเหนียวอ่อนกรุงเทพลึก 10 - 12 เมตร ค่าหน่วยแรงประสิทธิผลเริ่มต้นที่ใช้ในการทดสอบ ได้แก่ 150, 225 และ 300 กิโลปาสคาล หลังจากการอัดตัวคายน้ำ จะทำการทดสอบกำลังรับน้ำหนักแบบไม่ระบายน้ำ ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถตรวจวัดค่าโมดูลลัสเริ่มต้นได้ ในระหว่างการทดสอบจะทำการถอนและให้หน่วยแรงกระทำตามแนวแกนเป็นระยะเวลาสั้นๆ และทดสอบเปรียบเทียบในกรณีที่อัตราส่วนความเค้นแนวราบต่อแนวดิ่งไม่เท่ากันร่วมด้วย จากผลการทดสอบพบว่าการให้และถอนหน่วยแรงไม่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอิลาสติกของดินตัวอย่างทดสอบ และค่าความเค้นประสิทธิผลส่งผลกระทบต่อค่าซีแคนท์โมดูลัสที่ได้
dc.description.abstractalternative Triaxial Test is one of the most popular tests in geotechnical engineering. This research aims to develop models and method to explore the effect of plastic strain levels on Young's modulus of clayey soils. It is focused on using the test devices in laboratory to improve and operate the compression triaxial tests. The device has the three supporting rods installed inside the test cylinder to ensure enhancement of sample preparation. Load piston is designed with leak resistance ball bearings and rubber. The double-suction method is adopted to facilitate the saturation process. It is found that all samples were able to reach 99% of saturation. Tests on consolidation undrained triaxial test using Bangkok soft clay collected from depths of 10 - 12 meters were conducted under the initial confining stresses of 150, 225 and 300 kPa. During undrained shearing, several small unload-reload cycles were applied in order to compute the initial Young’s modulus at various plastic strain levels. Comparisions among the medium strain levels Young’s modulus obtained at various stages of testing and shearing were given. It was found that medium strain levels Young’s modulus was not affected by unload-reload cycles. They were solely affected by initial effective stress
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.925
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject แรงเฉือนของดิน
dc.subject ความสามารถในการรับน้ำหนัก
dc.subject Shear strength of soils
dc.subject Bearing capacity
dc.title ผลกระทบของระดับความเครียดต่อค่าโมดูลัสซีแคนท์แบบไม่ระบายน้ำของดินเหนียวกรุงเทพ
dc.title.alternative Effect of strain levels on secant undrained young”s modulus of Bangkok clay
dc.type Thesis
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมโยธา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.keyword EFFECTIVE STRESS
dc.subject.keyword CONSOLIDATION UNDRAINED TRIAXIAL TEST
dc.subject.keyword BANGKOK CLAY
dc.subject.keyword YOUNG'S MODULUS
dc.subject.keyword ความเค้นประสิทธิผล
dc.subject.keyword การทดสอบแรงอัดสามแกนที่มีการอัดตัวคายน้ำแต่ไม่ระบายน้ำ
dc.subject.keyword ค่าโมดูลัสของยัง
dc.subject.keyword ดินเหนียวกรุงเทพ
dc.subject.keyword Engineering
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.925


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record