Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสาเหตุของความว้าเหว่และการ เผชิญกับความว้าเหว่ของนักเรียนประจำวัยรุ่น โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ส่วน การวิจัยส่วนที่หนึ่งศึกษาความว้าเหว่ของนักเรียนประจำวัยรุ่นโดยศึกษาในลักษณะทั่วไปของนักเรียน ได้แก่ เพศ ระดับชั้น การเข้าร่วมกิจกรรมนอกหลักสูตร ภูมิหลังทางครอบครัว และความสัมพันธ์กับเพื่อน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนประจำชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 312 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความว้าเหว่และแบบวัดความสัมพันธ์กับเพื่อน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนประจำวัยรุ่นที่มีระดับชั้นแตกต่างกันมีคะแนนความว้าเหว่แตกต่างกัน โดยนักเรียนประจำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนนความว้าเหว่สูงกว่านักเรียนประจำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และนักเรียนประจำวัยรุ่นที่เข้าร่วมกิจกรรมนอกหลักสูตรมีคะแนนความว้าเหว่แตกต่างจากนักเรียนประจำวัยรุ่นที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมนอกหลักสูตร และ การทดสอบความ สัมพันธ์ระหว่างความว้าเหว่และความสัมพันธ์กับเพื่อน พบว่า คะแนนความว้าเหว่สัมพันธ์กับคะแนนความสัมพันธ์กับเพื่อน การวิจัยส่วนที่สองศึกษาสาเหตุของความว้าเหว่และการประจำวัยรุ่นมีสาเหตุ 2 ประการ คือ (1) สาเหตุของความว้าเหว่ที่มาจากปัจจัยส่วนบุคคล และ (2) สาเหตุของความว้าเหว่ที่มาจากปัจจัยด้านปฏิสัมพันธ์และสังคม การเผชิญกับความว้าเหว่ของนักเรียนประจำวัยรุ่นมี 9 ลักษณะ ได้แก่ (1) การแสดงความรู้สึก (2) การแยกตัวหรือต้องการอยู่คนเดียว (3) การไม่ทำกิจกรรมใด ๆ หรืออยู่เฉย ๆ โดยไม่ทำอะไร (4) การทำกิจกรรม (5) การคิดถึงสิ่งที่รักและผูกพัน (6) การลดระดับความต้องการของตนเองหรือลดระดับความสำคัญทางสังคม (7) การพยายามเข้าหาสังคมหรือพยายามเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มใด ๆ (8) การหาแรงสนับสนุนทางสังคม และ (9) การปรับตัวและพัฒนาตนเอง