DSpace Repository

กลไกทางกฎหมายเพื่อสนับสนุนธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ : กรณีศึกษาผู้ประกอบการ Fin Tech ประเภท Startup

Show simple item record

dc.contributor.advisor ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์
dc.contributor.author ปิยะพงษ์ หฤทัยแจ่มจิต
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-12-13T06:59:09Z
dc.date.available 2018-12-13T06:59:09Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61073
dc.description เอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 en_US
dc.description.abstract เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและความสำคัญของธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) ในสภาพสังคมและเศรษฐกิจยุคดิจิทัล รวมทั้งการกำกับดูแลและกลไกทางกฎหมายในการสนับสนุนธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้ประกอบการ FinTech ประเภท Startup จากผลการศึกษาพบว่า วิวัฒนาการด้านการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ลดขั้นตอนอันซับซ้อน ง่ายต่อการใช้งาน และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้บริการทางการเงิน เป็นผลจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงิน หรือ FinTech กระตุ้นให้เกิดโอกาสสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ หรือ Startup ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญสามารถสร้างสรรค์คิดค้นบริการรูปแบบใหม่ หรือต่อยอดผลิตภัณฑ์หรือบริการในการแก้ไขปัญหา (Solution) ในกระบวนการชำระเงินรูปแบบเดิม ซึ่งจะช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนาและการแข่งขันเชิงนวัตกรรมใหม่ทั้งในภาคธุรกิจการเงินและอุตสาหกรรมอื่น แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าวยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย ขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารงาน รวมทั้งการขาดแคลนบุคลากรภายในองค์กรที่มีทักษะความสามารถอย่างเพียงพอ จึงต้องมีการกำหนดกลไกทางกฎหมายในการสนับสนุนผู้ประกอบการ FinTech ประเภท Startup ผู้ให้บริการด้านการชำระเงิน โดยครอบคลุมปัจจัยความต้องการต่างๆ จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังขาดกลไกทางกฎหมายในการสนับสนุนอีกหลายด้านที่จะช่วยผลักดันผู้ประกอบการรายใหม่ในธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น รัฐจึงจำเป็นต้องกำหนดกลไกทางกฎหมายในการสนับสนุนผู้ประกอบการ FinTech ประเภท Startup ในธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยออกประกาศเป็นมาตรการสนับสนุนระยะสั้น ได้แก่ ด้านเงินทุน และด้านการพัฒนาผู้ประกอบการ โดยกำหนดขอบเขต วิธีการ และเงื่อนไขของโครงการ เป็นต้น รวมทั้งมาตรการสนับสนุนระยะยาว ด้านการพัฒนาแรงงาน ทั้งจำนวนแรงงานและทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญของแรงงาน เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจของประเทศ en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.56
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การชำระเงิน en_US
dc.subject กฎหมายธุรกิจ en_US
dc.title กลไกทางกฎหมายเพื่อสนับสนุนธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ : กรณีศึกษาผู้ประกอบการ Fin Tech ประเภท Startup en_US
dc.type Independent Study en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline กฎหมายเศรษฐกิจ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.subject.keyword การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ en_US
dc.subject.keyword บริการทางการเงิน en_US
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2017.56


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record