DSpace Repository

ปัญหาการบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 284) พ.ศ.2538 : การเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลของผู้ประกอบการกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล
dc.contributor.author สุจิตา ศิกษมัต
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-12-24T04:24:54Z
dc.date.available 2018-12-24T04:24:54Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61090
dc.description เอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 en_US
dc.description.abstract การศึกษาเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าเพราะการพัฒนาประเทศต้องอาศัยกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถเป็นสำคัญ ทั้งนี้การจัดบริการการศึกษาแก่ประชาชนถือเป็นหน้าที่รัฐ แต่เนื่องจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐไม่สามารถรองรับจำนวนผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาได้ทั้งหมด รัฐจึงมีความประสงค์ที่จะส่งเสริมให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาการศึกษา จึงได้ใช้มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของเอกชนโดยกำหนดเป็นบทบัญญัติของพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 284) พ.ศ.2538 เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ประกอบกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสำหรับเงินได ที่เป็น (1) กำไรสุทธิจากกิจการ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน (2) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ไดhจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่ประกอบกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ทั้งนี้ การจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2546 ได้กำหนดให้ต้องมี “ผู้รับใบอนุญาต” ดำเนินการขอจัดตั้งและเมื่อได้รับอนุญาตให้จัดตั้งแล้ว พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนมีสถานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งถือว่ามีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเฉพาะ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนจึงเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้รับใบอนุญาตที่เป็นบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มูลนิธิ สมาคม ที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลตาม มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร การบัญญัติกฎหมายยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 284) พ.ศ.2538 ในทางปฏิบัติจึงไม่สามารถยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ได้จากกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้จริง เนื่องจากกรมสรรพากรและศาลฎีกา ถือว่าสถาบันอุดมศึกษาเอกชนกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลผู้รับใบอนุญาตมิได้เป็นบุคคลเดียวกัน ดังนั้น ผลประโยชน์หรือผลตอบแทนที่บริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้รับใบอนุญาตได้รับ จึงมิใช่กำไรสุทธิที่อยู่ในข่ายได้รับการยกเว้นภาษี แต่ถือ เป็นรายได้ที่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทผู้ประกอบกิจการ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ส่งผลให้การบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งประสงค์บรรเทาภาระภาษีแก่ผู้ประกอบกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แต่กลับ ก่อให้เกิดภาระภาษีแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ประกอบกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แทน จึงเป็นการสร้างความไม่เป็นธรรมแก่เอกชนผู้ประกอบกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.24
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การศึกษา en_US
dc.subject สถาบันอุดมศึกษา en_US
dc.title ปัญหาการบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 284) พ.ศ.2538 : การเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลของผู้ประกอบการกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน en_US
dc.type Independent Study en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline กฎหมายเศรษฐกิจ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Supalak.P@Chula.ac.th
dc.subject.keyword การพัฒนาการศึกษา en_US
dc.subject.keyword การจัดการศึกษาเอกชน en_US
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2017.24


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record