Abstract:
งานวิจัยฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบสานวนจีนที่ได้รับอิทธิพลจากพุทธ ศาสนากับสานวนไทยที่มีความหมายใกล้เคียงกัน โดยศึกษาเปรียบเทียบการแบ่งประเภทตาม เนื้อหาและกลวิธีทางวาทศาสตร์ที่พบในสานวนจีนทางพุทธศาสนากับสานวนไทยที่มีความหมาย ใกล้เคียงกัน และนาเสนอบทบาทหน้าที่ของสานวนจีนทางพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมจีน ผลการวิจัยพบว่า สา นวนจีนทางพุทธศาสนาสามารถแบ่งประเภทตามเนื้อหาได้ 5 ประเภท สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของการใช้คาทางพุทธศาสนาหรือแนวคิดหลักธรรมทางพุทธศาสนาใน ฝ่ ายอุตรนิกายสายจีน ส่วนสา นวนไทยที่มีความหมายใกล้เคียงกัน พบว่ามีการใช้คา ทางพุทธศาสนา ทั้งที่เหมือนกันและต่างกันกับสานวนจีน ในบางกรณีก็ไม่มีคา ทางพุทธศาสนาหรือหลักธรรมคา สอนทางพุทธศาสนาปรากฏอยู่ในสานวนเลย สาหรับกลวิธีทางวาทศาสตร์ที่พบในสานวนจีนทาง พุทธศาสนาเปรียบเทียบกับสานวนไทยที่มีความหมายใกล้เคียงกัน สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท หลักๆ คือ การเปรียบอุปมา (明喻míngyù) การเปรียบอุปลักษณ์ (借喻jièyù) การเปรียบอติ พจน์ (夸张 kuāzhāng) และการเปรียบวิภาษ (对照duìzhào) การใช้คาอุปมาเปรียบเทียบที่ ปรากฏในกลวิธีทางวาทศาสตร์เหล่านี้มีทั้งที่เหมือนกันและต่างกัน ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นถึงอัต ลักษณ์อันเป็นเอกลักษณ์ในแต่ละสังคมหรือวัฒนธรรมได้ นอกจากนี้ หลักธรรมและข้อคิดต่างๆ ที่ แฝงอยู่ในสานวนจีนทางพุทธศาสนากับสานวนไทยที่มีความหมายใกล้เคียงกันยังมีบทบาทสาคัญ ในการเป็นเครื่องมือสร้างบรรทัดฐานทางพฤติกรรมและจริยธรรมในสังคมอย่างหนึ่งด้วย