Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สองประการ ประการแรกเพื่อศึกษาเปรียบเทียบนวนิยายจีนเรื่อง หันเย่ กับฉบับแปลภาษาไทย คืนหนาว ประการที่สองเพื่อศึกษาและวิเคราะห์กลวิธีการแปลวรรณกรรมและการปรับบทแปลจากฉบับภาษาจีนเป็นภาษาไทย วิธีการดาเนินการวิจัย ได้แก่ ศึกษาสานวนต้นฉบับและสานวนแปล และเปรียบเทียบสานวนทั้งสองฉบับดังกล่าว หลังจากนั้น จึงจัดทารายการข้อแตกต่างและข้อผิดพลาดอันเกิดจากการแปลเป็นสานวนไทย สุดท้ายจึงวิเคราะห์ข้อแตกต่างและข้อผิดพลาดอันเกิดจากการแปลเป็นสานวนไทย ผลการวิจัยพบว่า สานวนแปลภาษาไทยของนวนิยายเรื่อง คืนหนาว มีความคลาดเคลื่อนจากต้นฉบับภาษาจีนเนื่องจากความแตกต่างด้านการเลือกใช้คา การเพิ่ม การละ รวมถึงการปรับคาหรือข้อความ โดยมีสาเหตุมาจากวิธีการใช้ภาษาและกลวิธีการแปลของผู้แปล รวมถึงความแตกต่างของบริบททางสังคมและวัฒนธรรมระหว่างจีนกับไทย นอกจากนี้ยังพบการถ่ายทอดตัวบทในรูปแบบอื่นๆ เช่น การถ่ายทอดสานวนจีนประเภทต่างๆ เช่น สานวน สุภาษิต คาพังเพยของจีน ส่วนการถ่ายโวหารภาพพจน์นั้นพบว่ามีหลายวิธีเช่นเดียวกัน ได้แก่ อุปมา อุปลักษณ์ บุคลาธิษฐาน สัญลักษณ์ และอติพจน์