dc.contributor.author |
สิริวรรณ กิตติเนาวรัตน์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2008-02-29T09:37:30Z |
|
dc.date.available |
2008-02-29T09:37:30Z |
|
dc.date.issued |
2547 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6121 |
|
dc.description.abstract |
โครงการวิจัยนี้เป็นการศึกษาอิทธิพลของสารไคโตซานต่อคุณสมบัติสีย้อมผ้าฝ้ายที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติที่สกัดได้จากเปลือกมังคุด จากผลการทดลอง สรุปได้ว่า การใช้ตัวละลายที่แตกต่างกันระหว่างน้ำและเอธานอล ให้เฉดสีที่สกัดได้และความเข้มของสีย้อมบนผ้าที่ย้อมด้วยสีเปลือกมังคุดแตกต่างกันออกไป การสกัดจากเปลือกมังคุดด้วยน้ำให้เฉดสีน้ำตาล และให้ความเข้มของสีย้อมบนผ้าฝ้าย เข้มกว่าของผ้าที่ย้อมด้วยสีที่สกัดได้ด้วยเอธานอลซึ่งให้เฉดสีที่สกัดได้เป็นเฉดสีเหลือง การตกแต่งไคโตซานลงไปบนผ้าฝ้ายช่วยให้การดูดซับสีย้อมที่สกัดได้จากเปลือกมังคุดดีขึ้น มีผลทำให้ผ้าฝ้ายที่ย้อมด้วยสีเปลือกมังคุดมีค่าความเข้มของสีมากกว่าของผ้าที่ย้อมด้วยสีเปลือกมังคุดที่ไม่ได้ตกแต่งด้วยไคโตซาน นอกจากนี้สมบัติความคงทนของสีต่อแสงและต่อการซักของผ้าฝ้ายที่ย้อมด้วยสีเปลือกมังคุดที่ตกแต่งด้วยไคโตซานดีกว่าสมบัติทั้งสองของผ้าที่ไม่ได้ตกแต่งด้วยไคโตซาน การใช้มอแด้นท์และวิธีการใช้มอแด้นท์ มีผลกระทบโดยตรงต่อเฉดสีและความเข้มของสีย้อมบนผ้าฝ้ายที่ย้อมด้วยสีเปลือกมังคุด ทั้งของผ้าฝ้ายที่ตกแต่ง และผ้าฝ้ายที่ไม่ตกแต่งด้วยไคโตซานแตกต่างกันออกไป การใช้มอแด้นท์มีผลทำให้ผ้าฝ้ายที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติมีเฉดสีที่หลากหลายซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของสีธรรมชาติที่เป็นสีมอแด้นท์ ซึ่งลักษณะพิเศษนี้ไม่พบในสีสังเคราะห์ นอกจากนี้ การใช้มอแด้นท์ยังช่วยปรับปรุงสมบัติความคงทนของสีต่อแสงและต่อการซักของผ้าทั้งที่ตกแต่งด้วยไคโตซานและไม่ได้ตกแต่งด้วยไคโตซานให้ดีขึ้นกว่าของผ้าฝ้ายที่ย้อมด้วยสีเปลือกมังคุดที่ไม่ได้ใช้มอแด้นท์ |
en |
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this project is to study the influence of the chitosan of dyeing properties of Mangosteen Rind on cotton fabric. The results of this study can be concluded that the different solvents used for dye extraction provide different shades on dyed fabrics. Water extractor gave brown shade while ethanol extractor gave yellow shade on dyed fabrics. The depth of brown shade on dyed fabric was higher than that of yellow shade. In addition, the cotton fabrics treated with chitosan had better depth of shade than of the untreated fabrics dyed with Management Rind. This maybe because the chitosan treated on cotton fabrics provided more dye sites to absorb more dye extracted than those present on the untreated fabric. The cotton fatrics treated with chitosan not only provided better depth of shade but also provided better wash fastness and light fastness than those of the untreated fabrics dyed with Mangosteen Rind. The use of different mordants and mordanting methods affected the dye shade and depth of shade differently on the dyed fabrics both treated with and without chitosan. Only natural dyes can have their shades changed by using different mordants while this phenomenon cannot be observed in synthetic dyes. The cotton fabrics dyed with mordants had better wash fastness and light fastness than those of cotton fabrics dyed without mordant. |
en |
dc.description.sponsorship |
ทุนวิจัยกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช |
en |
dc.format.extent |
5809661 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
สีย้อมจากพืช |
en |
dc.subject |
มังคุด -- เปลือก |
en |
dc.subject |
ไคโตแซน |
en |
dc.title |
อิทธิพลของสารไคโตซานต่อสมบัติสีย้อมบนผ้าฝ้าย ที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติที่สกัดจากเปลือกมังคุด : รายงานผลการวิจัย |
en |
dc.title.alternative |
Influence of the chitosan on dyeing properties of mangosteen rind on cotton fabric |
en |
dc.type |
Technical Report |
es |
dc.email.author |
ksiriwan@sc.chula.ac.th |
|