dc.contributor.advisor | กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา | |
dc.contributor.author | กมลชนก หงษ์ทอง | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-02-26T13:20:41Z | |
dc.date.available | 2019-02-26T13:20:41Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61256 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อระบุความแตกต่างระหว่างหน่วยสร้างอนุประโยคขยายคำนามกับนามวลีที่มีโครงสร้างเดียวกันคือ ‘คำนาม + กริยาวลี’ 2) เพื่อระบุโครงสร้างทางวากยสัมพันธ์ของหน่วยสร้างอนุประโยคขยายคำนามในภาษาไทย และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีบทบาทต่อการกำหนดเงื่อนไขการปรากฏของโครงสร้างทางวากยสัมพันธ์แต่ละแบบที่ระบุได้ในข้อ 2 ผู้วิจัยได้อาศัยสมมติฐานความคงสภาพของศัพท์เพื่อทดสอบความตรึงแน่นภายในของหน่วยที่ประกอบด้วย ‘คำนาม + กริยาวลี’ และคำนวณอัตราส่วนระหว่างแบบต่อรูป ความแตกต่างที่พบคือคำประสมมีอัตราส่วนระหว่างแบบต่อรูปต่ำและมีความเป็นเนื้อเดียวกันสูงจนไม่ยอมให้กระบวนการทางวากยสัมพันธ์ ได้แก่ การแทรก การขยาย การแทนที่ และการเชื่อม เข้าไปมีบทบาทต่อหน่วยย่อยภายในเพียงหน่วยใดหน่วยหนึ่งได้ ในทางกลับกัน หน่วยสร้างอนุประโยคขยายคำนามมีอัตราส่วนระหว่างแบบต่อรูปสูงจนกระบวนการทางวากยสัมพันธ์สามารถเข้าไปมีบทบาทต่อหน่วยประกอบของมันได้ ผลการศึกษาพบว่าหน่วยสร้างอนุประโยคขยายคำนามในภาษาไทยประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วนที่ขาดไม่ได้คือ ‘ส่วนหลัก’ คือคำนามหรือนามวลี และ ‘ส่วนขยาย’ คืออนุประโยค ในบางการปรากฏอาจพบ ‘ตัวนำอนุประโยค’ ได้แก่ ที่ ซึ่ง อัน ผู้ ว่า ผู้ซึ่ง ที่ซึ่ง และ ที่ว่า นำหน้าส่วนขยาย หน่วยสร้างอนุประโยคขยายคำนามมีกระสวนโครงสร้าง 4 แบบที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1) คำนามหลัก + ตัวนำอนุประโยค + อนุประโยคขยายที่มีตัวอ้างอิงร่วมกับคำนามหลัก 2) คำนามหลัก + อนุประโยคขยายที่มีตัวอ้างอิงร่วมกับคำนามหลัก3) คำนามหลัก + ตัวนำอนุประโยค + อนุประโยคขยายที่ไม่มีตัวอ้างอิงร่วมกับคำนามหลัก และ 4) คำนามหลัก + อนุประโยคขยายที่ไม่มีตัวอ้างอิงร่วมกับคำนามหลัก ปัจจัยที่มีบทบาทหลักต่อการกำหนดเงื่อนไขการปรากฏของโครงสร้างแต่ละแบบ ได้แก่ การมีหรือไม่มีตัวนำอนุประโยค การมีหรือไม่มีตัวอ้างอิงร่วม หน้าที่ของอนุประโยคขยายที่มีต่อคำนามหลัก และปัจจัยนอกเหนือจากรูปภาษา ส่วนปัจจัยที่มีบทบาทรองลงมาหรือปัจจัยที่กำหนดการปรากฏแบบย่อยของแต่ละโครงสร้าง ได้แก่ ตำแหน่งทางไวยากรณ์ของตัวอ้างอิงร่วม คุณสมบัติทางอรรถศาสตร์ของคำนามหลัก บทบาททางความหมายของคำนามหลัก ความซับซ้อนของหน่วยประกอบ ความเป็นวรรณศิลป์ และน้ำเสียงของผู้ส่งสาร ในขณะที่จำนวนขั้นต่ำของผู้ร่วมเหตุการณ์ การมีหรือไม่มีสุญรูป บริบทแวดล้อม และความเป็นทางการ ไมใช่มีบทบาทต่อการกำหนดแบบต่างๆ ของโครงสร้าง | |
dc.description.abstractalternative | The current study aims 1) to differentiate NMCCs and synthetic compounds that share structural similarity of ‘noun + verb phrase’ 2) to identify syntactic structures of NMCCs in Thai, and 3) to analyses factors that condition the occurrence of each structure. The study employs Lexical Integrity Hypothesis to test the internal cohesion of each linear sequence of ‘noun + verb phrase’ and measures their Type/Token Ratio (TTR). It is found that synthetic compounds have low TTR and behave like single-whole units, so they do not allow syntactic operations, namely intervention, modification, coordination and alteration to affect their lexical status. In contrast, NMCCs have slightly higher TTR and can be affected by syntactic operations. NMCCs in Thai require 2 compulsory comstituents, namely ‘head’ which is a noun or a noun phrase, and ‘modifier’ which is an adnominal clause. It is also likely to find one of these ‘clause antecedents,’ namely thii, seung, an, phuu, waa, phuu seung, thii seung and thii waa preceding the modifying clause. The constructions exhibit 4 different patterns: 1) head noun + clause antecedent + modifying clause with a coreferential unit, 2) head noun + modifying clause with a coreferential unit, 3) head noun + clause antecedent + modifying clause without any coreferential unit and 4) head noun + modifying clause without any coreferential unit. Factors that primarily condition the occurrence of the 4 aforementioned patterns are the presence or absence of the clause antecedent, the presence or absence of the coreferential unit, the functions of the modifying clause and non-linguistic factors. Factors that secondarily condition the occurrence of variants of patterns are grammatical functions of the coreferential unit, semantic properties and thematic roles of the head noun, complexity of constituents, rhetorical stylistics and tones of the utterance. In contrast, predicate-argument structure, the ellipsis, contexts and formal stylistics have nothing to do with the pattern differentiation. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1048 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.subject | ภาษาไทย -- คำนาม | |
dc.subject | ภาษาไทย -- ประโยค | |
dc.subject | ภาษาไทย -- คำประสม | |
dc.subject | Thai language -- Noun | |
dc.subject | Thai language -- Sentences | |
dc.subject | Thai language -- Compound words | |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | |
dc.title | หน่วยสร้างอนุประโยคขยายคำนามในภาษาไทย | |
dc.title.alternative | Noun-modifying clause constructions in Thai | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | ภาษาศาสตร์ | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.email.advisor | Kingkarn.T@Chula.ac.th | |
dc.subject.keyword | อนุประโยค | |
dc.subject.keyword | ส่วนขยายของคำนาม | |
dc.subject.keyword | ภาษาไทย | |
dc.subject.keyword | คุณานุประโยค | |
dc.subject.keyword | อนุประโยคเติมเต็มนาม | |
dc.subject.keyword | คำประสม | |
dc.subject.keyword | noun modification | |
dc.subject.keyword | adnominal clause | |
dc.subject.keyword | Thai | |
dc.subject.keyword | relative clause | |
dc.subject.keyword | noun complement clause | |
dc.subject.keyword | compound | |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2018.1048 |