Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาเหตุผลของรัฐไทยในการเข้าร่วมสงครามเกาหลี (ค.ศ. 1950-1953) โดยพบว่าการสร้างวาทกรรมชาตินิยมของรัฐไทยหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้นำปัจจัยบรรยากาศทางการเมืองสมัยใหม่มาเป็นประเด็นหลักสำคัญ เน้นย้ำไปยังความมั่นคงของประเทศที่กำลังถูกลัทธิคอมมิวนิสต์รุกรานโดยเชื่อมโยงเข้ากับสถานการณ์โลกการเมืองสมัยใหม่ที่เกิดการปะทะกันระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์และเสรีประชาธิปไตย ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก จนกระทั่งคาบสมุทรเกาหลีกลายเป็นพื้นที่การปะทะกันของอุดมการณ์ทางการเมืองจากทั้งสองฝ่าย เมื่อเกิดสงครามเกาหลีขึ้น ไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประกาศเข้าร่วมสงคราม ซึ่งถือเป็นการแสดงท่าทีทางการเมืองอย่างชัดเจนว่า รัฐไทยนั้นสนับสนุนนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์และสนับสนุนอเมริกา อีกทั้งได้รัฐไทยนำเอาแนวคิดชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ขึ้นมาเป็นวาทกรรมหลักเพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐไทยในการเข้าร่วมสงครามเกาหลี ดังนั้นนโยบายการสร้างชาติและต่อต้านคอมมิวนิสต์ของรัฐไทยได้รับอิทธิพลจากบริบททางการเมืองระหว่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุกคามจากคอมมิวนิสต์จีนและถูกกำหนดโดยเหตุการณ์ในสถานการณ์ทางการเมืองโลกในช่วงสงครามเกาหลี