DSpace Repository

ผลของผ้าปิดตาและที่อุดหูในเวลากลางคืนต่อคุณภาพการนอนหลับในหอผู้ป่วยวิกฤต

Show simple item record

dc.contributor.advisor นฤชา จิรกาลวสาน
dc.contributor.author ภูรีพัทธ์ อรรถเวชกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-02-26T13:22:42Z
dc.date.available 2019-02-26T13:22:42Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61280
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
dc.description.abstract ที่มา: เสียงและแสงรบกวนที่มากเกินไปในหอผู้ป่วยวิกฤตนั้นสามารถที่จะรบกวนการนอนหลับของผู้ป่วยโดยการกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวของสมองส่งผลให้คุณภาพการนอนหลับเลวลง เป้าหมาย: เพื่อที่จะประเมินประสิทธิภาพของอุปกรณ์ผ้าปิดตาและที่อุดหูในการเพิ่มคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติ วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้าพักในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม จำนวน 20 คนได้เข้าสู่การศึกษา โดยจะสุ่มผู้ป่วยเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มแรกจะได้รับการสวมใส่อุปกรณ์ผ้าปิดตาและที่อุดหูในเวลากลางคืนเป็นเวลาห้าคืน ส่วนกลุ่มที่สองจะเป็นกลุ่มควบคุม มีผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มการรักษา 10 คน และ กลุ่มควบคุม 10 คน วัดผลดัชนีการตื่นตัวของสมองและค่าทางการนอนหลับอื่นๆ โดยเครื่องตรวจการนอนหลับที่มีผู้เฝ้า (attended polysomnography) วัดการนอนหลับและการเคลื่อนไหวของร่างกายในเวลากลางวันด้วย wrist actigraphy และ ประเมินคุณภาพการนอนหลับโดยแบบสอบถาม Richard-Campbell sleep questionnaire ในทุกวันของการศึกษา นอกจากนี้ข้อมูลจาก wrist actigraphy และ polysomnography จะนำมาเปรียบเทียบเพื่อหาความสัมพันธ์ ผลการศึกษา: การใช้ผ้าปิดตาและที่อุดหูในเวลากลางคืนในช่วงคืนแรกมีแนวโน้มที่จะสามารถลดค่าดัชนีการตื่นตัวของสมองได้เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (21.00 (21.40) กับ 42.10 (27.05) เหตุการณ์ต่อชั่วโมง, p=0.086) เพิ่มคุณภาพการนอนหลับ (59.00 (5.48) กับ 56.4 (5.17), p= 0.146) และเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกายในเวลากลางวัน (7806 [7003] vs 1556 [3889] ครั้ง, p =0.067) ผลการวัดค่าการนอนหลับจาก polysomnography และ wrist actigraphy มีความสัมพันธ์กันเพียงเล็กน้อยในทุก parameter สรุป: การสวมใส่ผ้าปิดตาและที่อุดหูในผู้ป่วยวิกฤติอายุรกรรมมีแนวโน้มที่จะลดดัชนีการตื่นตัวของสมอง เพิ่มคุณภาพการนอนหลับและเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกายในเวลากลางวัน อุปกรณ์ wrist actigraphy ไม่สามารถวัดค่าการนอนหลับในผู้ป่วยวิกฤติอายุรกรรมได้อย่างแม่นยำ
dc.description.abstractalternative Background: Excessive noise and light in medical intensive care unit are known to disrupt patient’s sleep by causing arousals which can lead to poor sleep quality. Aim and objectives: To determine the efficacy of the use of earplugs and eye mask to improve sleep quality in ICU patients. Methods: 20 medical ICU patients were randomized to sleep with or without earplugs and eye mask during their first five nights. Ten patients were in the intervention group and ten patients were in the control group. Arousal index and other sleep parameters were measured during the first night in ICU using attended polysomnography. Wrist actigraphy and Richard-Campbell sleep questionnaire were utilized to determine daytime activity and sleep quality during all study nights, respectively. Correlation between actigraphy and polysomnography measurements of sleep data were compared. Results: The use of earplugs and eye mask during the first night was associated with a trend towards lower arousal index compared to control (21.00 (21.40) vs 42.10 (27.05) events per hour, p=0.086), improvement in sleep quality (59.00 (5.48) vs 56.4 (5.17), p= 0.146) and higher daytime activity in the intervention group compared to the control group (7806 [7003] vs 1556 [3889] counts, p =0.067). Wrist actigraphy and polysomnography data demonstrated only fair agreement in all sleep parameters. Conclusion: The use of earplugs and eye mask in medical ICU patients demonstrated a trend towards reduction in arousal index and improvement in sleep quality and daytime activity. Wrist actigraphy did not accurately measure sleep parameters in ICU patients.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1508
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การนอนหลับ
dc.subject การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต
dc.subject Sleep
dc.subject Intensive care nursing
dc.subject.classification Medicine
dc.title ผลของผ้าปิดตาและที่อุดหูในเวลากลางคืนต่อคุณภาพการนอนหลับในหอผู้ป่วยวิกฤต
dc.title.alternative Effect of nighttime earplugs and eye masks on sleep quality in intensive care unit patients
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Naricha.C@chula.ac.th
dc.subject.keyword SLEEP QUALITY
dc.subject.keyword INTENSIVE CARE UNIT
dc.subject.keyword DELIRIUM
dc.subject.keyword LIGHT AND NOISE CONTROL
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.1508


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record