dc.contributor.advisor |
ดนุชา คุณพนิชกิจ |
|
dc.contributor.author |
ชลาลัย เกียรติอมรชัย |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี |
|
dc.date.accessioned |
2008-03-03T07:43:54Z |
|
dc.date.available |
2008-03-03T07:43:54Z |
|
dc.date.issued |
2546 |
|
dc.identifier.isbn |
9741739907 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6129 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
en |
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างกลยุทธ์ในการให้น้ำหนักการวัดผลการดำเนินงานที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน 2. เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างกลยุทธ์ในการให้น้ำหนักการจ่ายผลตอบแทนโดยอิงกับการวัดผลการดำเนินงานที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน และ 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการวัดผลการดำเนินงานกับการจ่ายผลตอบแทน โดยศึกษาข้อมูลบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า จากการจำแนกการวัดผลการดำเนินงานที่เป็นตัวเงิน 7 รายการและการวัดผลการดำเนินงานที่ไม่เป็นตัวเงิน 13 รายการ ผลการวิจัยพบว่า องค์กรที่ใช้กลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านต้นทุนและองค์กรที่ใช้กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์มีการให้น้ำหนักการวัดผลการดำเนินงานที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินอยู่ในระดับมาก สำหรับองค์กรที่ใช้กลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านต้นทุนนั้น การให้น้ำหนักการจ่ายผลตอบแทนกับการให้น้ำหนักการวัดผลการดำเนินงานที่เป็นตัวเงิน 6 รายการไม่มีความสัมพันธ์กัน ยกเว้นการให้น้ำหนักการจ่ายโบนัสโดยอิงกับกำไรมีความสัมพันธ์กับการให้น้ำหนักการวัดผลการดำเนินงานด้านกำไร ส่วนการให้น้ำหนักการจ่ายผลตอบแทนโดยอิงกับการให้น้ำหนักการวัดผลการดำเนินงานที่ไม่เป็นตัวเงิน 12 รายการไม่มีความสัมพันธ์กัน ยกเว้นการให้น้ำหนักการจ่ายเงินเดือนและโบนัสโดยอิงกับจำนวนโครงการใหม่มีความสัมพันธ์กับการให้น้ำหนักการวัดผลการดำเนินงานด้านจำนวนโครงการใหม่ สำหรับองค์กรที่ใช้กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ การให้น้ำหนักการจ่ายผลตอบแทนกับการให้น้ำหนักการวัดผลการดำเนินงานที่เป็นตัวเงิน 6 รายการมีความสัมพันธ์กัน ยกเว้นการให้น้ำหนักการจ่ายเงินเดือนและโบนัสโดยอิงกับต้นทุน ไม่มีความสัมพันธ์กับการให้น้ำหนักการวัดผลการดำเนินงานด้านต้นทุน ส่วนการให้น้ำหนักการจ่ายผลตอบแทนโดยอิงกับการให้น้ำหนักการวัดผลการดำเนินงานที่ไม่เป็นตัวเงินทั้ง 10 รายการมีความสัมพันธ์กัน ยกเว้น 3 รายการ ดังต่อไปนี้ที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ 1. การให้น้ำหนักการจ่ายเงินเดือนโดยอิงกับความพึงพอใจของลูกค้าไม่มีความสัมพันธ์กับการให้น้ำหนักการวัดผลการดำเนินงานด้านความพึงพอใจของลูกค้า 2. การให้น้ำหนักการจ่ายเงินเดือนและโบนัสโดยอิงกับการส่งมอบสินค้าตรงเวลาไม่มีความสัมพันธ์กับการให้น้ำหนักการวัดผลการดำเนินงานด้านการส่งมอบสินค้าตรงเวลา และ 3. การให้น้ำหนักการจ่ายเงินเดือนและโบนัสโดยอิงกับระยะเวลาในการผลิตไม่มีความสัมพันธ์กับการให้น้ำหนักการวัดผลการดำเนินงานด้านระยะเวลาในการผลิต จากผลการวิจัยข้างต้นสรุปได้ว่า ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลยุทธ์ในการให้น้ำหนักการวัดผลการดำเนินงานที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน แต่มีความแตกต่างกันเรื่องการให้น้ำหนักการจ่ายผลตอบแทน |
en |
dc.description.abstractalternative |
The objectives of this study are 3 folds : 1. to study the differences between strategies and weights placed on financial and non-financial measures; 2. to study the differences between strategies and weights placed on compensation relating to financial and non-financial measures; 3. to study the association of performance measures and compensation. This study is conducted on the listed companies belong to communication, electronic, and electrical industries. The study classifies the financial and non-financial measures into 7 and 13 categories, respectively. It is found that both cost leadership and product differentiation firms put high weights on both financial and non-financial measures. However, for cost leadership firms, the weights placed on 6 categories of compensation and financial performance measures are not associated except the weights placed on 1 category which is bonus paid based on profit are associated. The weights placed on 12 categories of compensation and non-financial performance measures are not associated except the weights placed on 1 category which is salary and bonus paid based on new project are associated. For product differentiation firms, the weights placed on 6 categories of compensation and financial performance measures are associated except the weights placed on 1 category which is salary and bonus paid based on cost are not associated. The weights placed on 10 categories of compensation and non-financial performance measures are associated except for the weights placed on 3 categories which are 1. salary paid based on customer satisfaction; 2. salary and bonus paid based on on-time delivery; 3. salary and bonus based on production period are not associated. The above results could be concluded that there are no differences between strategies and weights placed on financial and non-financial measures. But there are differences in weights placed on compensation. |
en |
dc.format.extent |
1143386 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
การวัดผลงาน |
en |
dc.subject |
ค่าจ้าง |
en |
dc.subject |
การบริหารค่าตอบแทน |
en |
dc.title |
การเชื่อมโยงกลยุทธ์กับการวัดผลการดำเนินงานและการจ่ายผลตอบแทน: กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมสื่อสาร อิเล็คทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า |
en |
dc.title.alternative |
Linking strategy to performance measures and compensation : a case study of communication, electronic and electrical industry groups |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
บัญชีมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
การบัญชี |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Danuja@.acc.chula.ac.th |
|