DSpace Repository

ผลของการฝึกการเคลื่อนที่แบบเฉพาะเจาะจงที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาบาสเกตบอลชายระดับเยาวชน

Show simple item record

dc.contributor.advisor คนางค์ ศรีหิรัญ
dc.contributor.author วชิราวุธ โพธิ์เหล็ก
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.date.accessioned 2019-02-26T13:34:28Z
dc.date.available 2019-02-26T13:34:28Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61363
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.description.abstract บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการฝึกการเคลื่อนที่แบบเฉพาะเจาะจงของกีฬาบาสเกตบอลที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาบาสเกตบอลชายระดับเยาวชน วิธีการดำเนินงานวิจัย นักกีฬาบาสเกตบอลชายระดับเยาวชน เพศชาย จังหวัดอุดรธานี อายุ 15-18 ปี จำนวน 26 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 13 คน ได้แก่ กลุ่มควบคุมได้รับการฝึกการเคลื่อนที่แบบดั้งเดิม และกลุ่มทดลองได้รับการฝึกการเคลื่อนที่แบบเฉพาะเจาะจง ทั้งสองกลุ่มทำการฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ก่อนการฝึกและภายหลังการฝึก 6 สัปดาห์ ก่อนและหลังการฝึกทดสอบตัวแปรทางสรีรวิทยา ความคล่องแคล่วว่องไว ความเร็ว นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างก่อนและภายหลังการฝึกด้วยการทดสอบค่า ทีแบบรายคู่ และทดสอบค่า ทีอิสระ ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัย กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความคล่องแคล่วว่องไวแบบทีเทส เวลาในการทดสอบความเร็วระยะ 5 เมตร และความสามารถในเปลี่ยนทิศทางดีขึ้นและแตกต่างจากกลุ่มควบคุมภายหลังการฝึก 6 สัปดาห์ ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.5 ความเร็วระยะ 10 และ 20 เมตร ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มภายหลังการฝึก 6 สัปดาห์ ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.5 สรุปผลการวิจัย การฝึกการเคลื่อนที่แบบเฉพาะเจาะจงในกีฬาบาสเกตบอลเป็นการฝึกเสริมที่ช่วยพัฒนาความคล่องแคล่วว่องไว ความเร็วระยะ 5 เมตร ให้แก่นักกีฬาบาสเกตบอลชายระดับเยาวชนได้เป็นอย่างดี
dc.description.abstractalternative Abstract Objective : To study the effects of specific movement training on agility in young male basketball players. Methods : Twenty-six male basketball players from Udonthani which aged between 15-18 years were selected. They were divided into two groups: the experimental group (n = 13) including specific movement training program and control group (n = 13) including traditional movement training program. Both groups were trained for 3 days per week totally 6 weeks. The measurements of general physical characteristics, agility, speed were testing before and after training. The variable was analyzed using pair sample t-test and independent sample t-test. A significance level of 0.05 was considered the statistical significance. Results : The mean time values of agility, speed 5 meters in experimental group were lower than in control group and was significant (p < .05). The mean time value of speed 10, 20 meters were no significant (p > .05). Conclusion : The specific movement training program had positive effects on agility, speed 5 meters. This indicated that the specific movement training program could be used as a specific basketball movement training.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1119
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ความสามารถทางกลไก
dc.subject บาสเกตบอล
dc.subject ความเร็ว
dc.subject Motor ability
dc.subject Basketball
dc.subject Speed
dc.title ผลของการฝึกการเคลื่อนที่แบบเฉพาะเจาะจงที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาบาสเกตบอลชายระดับเยาวชน
dc.title.alternative Effect of specific movement training on agility in young male basketball players
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.keyword ความคล่องแคล่วว่องไว
dc.subject.keyword กีฬาบาสเกตบอล
dc.subject.keyword ความเร็ว
dc.subject.keyword การเคลื่อนที่แบบเฉพาะเจาะจง
dc.subject.keyword Agility
dc.subject.keyword Basketball
dc.subject.keyword Specific movement
dc.subject.keyword Speed
dc.subject.keyword Health Professions
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.1119


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record