DSpace Repository

การสืบทอดดนตรีไทยในตำบลบ้านปึก จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์
dc.contributor.author นิพนธ์ กล่ำกล่อมจิตร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-02-26T13:46:56Z
dc.date.available 2019-02-26T13:46:56Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61460
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
dc.description.abstract งานวิจัยเรื่อง การสืบทอดดนตรีไทยในตำบลบ้านปึก จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติของคณะดนตรีไทยในตำบลบ้านปึก จังหวัดชลบุรี 2) ศึกษาการสืบทอดดนตรีไทยในตำบลบ้านปึก จังหวัดชลบุรี 3) ศึกษาบทบาทของคณะดนตรีไทยในตำบลบ้านปึก จังหวัดชลบุรี  จากการศึกษาพบว่า  คณะดนตรีไทยในตำบลบ้านปึก จังหวัดชลบุรี มี 2 คณะ คือคณะดนตรีไทยจั่นประสิทธิ์ และคณะดนตรีไทยผู้ใหญ่ถาวร แสงจิต ซึ่งทั้ง 2 คณะก่อตั้งขึ้นช่วงปลายรัชกาลที่ 5  คณะจั่นประสิทธิ์ มีครูเล็กและครูปุ๊ย ทองเต็ม เป็นผู้ก่อตั้งต่อมาครูแสวง ปุยรักษา นักดนตรีไทยจากจังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้ซึ่งได้รับการถ่ายทอดความรู้ทางด้านดนตรีไทยมาจากสายพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เข้ามาเป็นผู้ดูแลวง เนื่องจากครูแสวง ปุยรักษา มีฝีมือความสามารถและมีความรู้เรื่องเพลงเป็นอย่างดี ทำให้คณะดนตรีไทย  จั่นประสิทธิ์ มีชื่อเสียงโดดเด่นทั้งในตำบลบ้านปึกและพื้นที่ใกล้เคียง แต่ภายหลังจากนักดนตรีในยุคครูแสวง ปุยรักษา ถึงแก่กรรม คนในตระกูลส่วนใหญ่เลือกประกอบอาชีพอื่น ๆ ทำให้ไม่มีการสืบทอดอาชีพนักปี่พาทย์ของคนในตระกูลอีก ปัจจุบันแม้มีคนในตระกูลคือครูละเอียด คชวัฒน์และครูมงคล คชวัฒน์ เป็นผู้สืบทอดดนตรีไทย แต่การประกอบอาชีพครูในสถาบันการศึกษาทำให้ยังคงมีบทบาทสำคัญในการสืบทอดดนตรีไทยในสถาบันการศึกษา คณะดนตรีไทยผู้ใหญ่ถาวร แสงจิต เดิมชื่อคณะปี่พาทย์ครูองุ่น แสงจิต เนื่องจากมีครูองุ่น แสงจิต  เป็นผู้ก่อตั้ง ปัจจุบันคณะจึงเปลี่ยนชื่อเป็นคณะดนตรีไทยผู้ใหญ่ถาวร แสงจิต ตามชื่อผู้สืบทอด ความสามารถในการพัฒนาอาชีพตามความนิยมของคนในสังคมทั้งการสร้างวงปี่พาทย์มอญ วงแตรวง มีเครื่องไฟเพื่อสร้างสีสันในการบรรเลง อีกทั้งยังศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม จากการการฟังดนตรีไทยจากคณะดนตรีไทยที่มีชื่อเสียงทางวิทยุ และการแลกเปลี่ยนความรู้จากนักดนตรีด้วยกัน ทำให้คณะดนตรีไทยผู้ใหญ่ถาวร แสงจิต มีการพัฒนาจนเป็นแบบอย่างของวงดนตรีซึ่งมีชื่อเสียงในแถบจังหวัดชลบุรี ยังคงสืบทอดอาชีพดนตรีไทยและมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในวงวิชาชีพทั้งยังมีบทบาทในการสืบทอดความรู้ด้านดนตรีไทยในสถาบันการศึกษา
dc.description.abstractalternative The research entitled “The Transmission of Thai Music in Banpuek, Chonburi” aimed to 1) study traditional Thai music band historical background in Banpuek, Chonburi 2) study the transmission of traditional Thai music in Banpuek, Chonburi, and 3) study roles of traditional Thai music band in Banpuek, Chonburi.    The result found that there were two traditional Thai music bands, known as Chanprasit band, and Phouyai Thaworn Saengchit. Both were founded during late reign of King Chulalongkorn. The founders of Chanprasit band were KrooLek and KrooPui Thongtem and later KrooSawang Puiraksa – traditional Thai musician form Chacherngsao inherited traditional Thai knowledge and skills from Praya Prasan Duroyasap (Plak Prasansap) – was the band’s caretaker due to his skillful performance in traditional Thai music and his knowledge, causing the reputation of the band Banpuek, Chonburi and surrounding neighborhood. After the death of the musicians during KrooSawang time, other family members decided to change their jobs, causing the lack of transmission of PeePat musician. Nowadays, even KrooLaaiet and Mongkol Chotchawat are currently transmitted the traditional Thai music. In addition to this, being a teacher in education institution persisted to promote key roles of transmitting the traditional Thai music      The band of Phouyai Thaworn Saengchit was originally named as PeePat KrooAngun Saengchit because she was the founder. The band has been renamed as Phouyai Thaworn Saengchit owing to his ability to the development of career path of PeePat Mon Traewong by adding lighting system. Also, his apparent ability was studying more about traditional Thai music by listening to any popular traditional Thai music band from the radio until he was a role model of professional traditional Thai musician in Chonburi. He still inherited this kind of traditional Thai music and was well-known among the traditional Thai music professionals, as well as had vital roles to transmit the music knowledge in educational institutions.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.781
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject เครื่องดนตรีไทย
dc.subject ดนตรีไทย
dc.subject นักดนตรีไทย -- ไทย -- ชลบุรี
dc.subject Musical instruments, Thai
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.title การสืบทอดดนตรีไทยในตำบลบ้านปึก จังหวัดชลบุรี
dc.title.alternative The transmission of Thai music in Banpuek Chonburi
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ดุริยางค์ไทย
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.keyword การสืบทอด
dc.subject.keyword ดนตรีไทย
dc.subject.keyword ตำบลบ้านปึก
dc.subject.keyword จังหวัดชลบุรี
dc.subject.keyword TRANSMISSION
dc.subject.keyword TRADITIONAL THAI MUSIC
dc.subject.keyword BANPUEK SUB-DISTRICT
dc.subject.keyword CHONBURI PROVINCE
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.781


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record