DSpace Repository

การลดเวลาในกระบวนการผลิตสีน้ำมัน

Show simple item record

dc.contributor.advisor นภัสสวงศ์ โอสถศิลป์
dc.contributor.author พลัฏฐ์กร ใจผ่องอัครกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-02-26T14:06:58Z
dc.date.available 2019-02-26T14:06:58Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61589
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดสัดส่วนจำนวนรอบการปรับปรุงคุณภาพจากปัญหาการแต่งเฉดสี  ปัญหาการแห้งตัวผิวสัมผัสของสีเกินเวลาที่กำหนดและปัญหาความหนืดสูงเกินช่วงที่ยอมรับที่ส่งผลต่อเวลาในกระบวนการผลิตสีน้ำมันที่ยาวนานโดยให้มีต้นทุนที่ใช้ในการปรับปรุงคุณภาพต่ำที่สุด ขั้นตอนการดำเนินงานซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ระยะดังนี้ 1) การนิยามปัญหา โดยระบุสภาพปัญหาในปัจจุบันที่จะปรับปรุง 2) การวัด โดยวิเคราะห์ความแม่นและความเที่ยงของระบบการตรวจสอบค่าความแตกต่างสี การแห้งตัวสัมผัสของสี ค่าความหนืด จากนั้นระดมสมองเพื่อระบุและคัดเลือกปัจจัยนำเข้าที่จะศึกษา 3) การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา ทดสอบสมมติฐานความมีนัยสำคัญของปัจจัยนำเข้า 4) การปรับปรุงแก้ไขปัญหา สร้างข้อมูลพื้นฐานแม่สีสำหรับทดลองนำซอฟต์แวร์เทคนิคการจับคู่สีเพื่อพยากรณ์ชนิดและปริมาณแม่สีในการแต่งเฉดสี การออกแบบการทดลองแบบพื้นผิวผลตอบชนิดส่วนประสมกลางเพื่อหาระดับที่เหมาะสมของปริมาณสารเร่งแห้งสามชนิดและวิเคราะห์การถดถอยเพื่อสร้างสมการพยากรณ์ปริมาณตัวทำละลายที่เหมาะสมในการปรับปรุงคุณภาพความหนืดสูง 5) การติดตามควบคุม โดยการทดสอบเพื่อยืนยันผลการปรับปรุงและจัดทำแผนควบคุมกระบวนการ หลังการปรับปรุงพบว่า เวลาในกระบวนการผลิตสีน้ำมันลดลงจาก 843 เหลือ 582 นาทีต่อหนึ่งรอบการผลิต โดยสัดส่วนจำนวนรอบการผลิตที่ต้องทำการปรับปรุงคุณภาพด้วยจำนวนรอบที่มากเกินจำเป็นในเรื่องปัญหาการแต่งเฉดสีลดลงจาก 85% เป็น 33% ปัญหาการแห้งสัมผัสของสีลดลงจาก 72% เป็น 22% และปัญหาความหนืดสูงลดลงจาก 76% เป็น 20% และสามารถประหยัดต้นทุนที่ใช้ในการปรับปรุงคุณภาพได้ 495,820 บาทต่อปี
dc.description.abstractalternative The objective of this research is to reduce the proportion of production cycles that need unnecessary quality improvement related to tinting, touch dry time over limit and viscosity over limit problems with the lowest the quality improvement cost. These problems caused long production time of Enamel paint production process. This research consists of 5 phases, 1) Define phase: important problems were selected and defined. 2) Measure phase: the accuracy and precision of color difference, viscosity and touch dry inspection systems were analyzed. In addition, key process variables were brainstormed and selected. 3) Analysis phase: hypothesis testing was performed to test the significance of these variables. 4) Improve phase: Color Matching technic, Central Composite Design of Experiment (CCD) and Regression analysis were analyzed to improve of problems. 5) Control phase: confirmatory experiment was performed and control plan was created. After improvement, production time of Enamel paint production process was reduced from 843 to 582 minutes. In addition, it was found that the proportion of production cycles that need unnecessary quality improvement from tinting problem, touch dry problem and viscosity problem were reduced from 85% to 33%, 72% to 22% and 76% to 20% respectively. The quality improvement cost was reduced 495,820 bath per year.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1324
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject อุตสาหกรรมสี
dc.subject การควบคุมกระบวนการผลิต
dc.subject Paint industry and trade
dc.subject Process control
dc.subject.classification Engineering
dc.title การลดเวลาในกระบวนการผลิตสีน้ำมัน
dc.title.alternative Time reduction in enamel paint manufacturing process
dc.type Thesis
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมอุตสาหการ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.keyword Enamel
dc.subject.keyword Central Composite Design
dc.subject.keyword Regression
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.1324


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record