dc.contributor.author |
จลีพร โกลากุล |
|
dc.contributor.author |
จันทิภา ตันตุลยเสรี |
|
dc.contributor.author |
ศิริชัย พงษ์วิชัย |
|
dc.contributor.author |
ประไพพิศ มงคลรัตน์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสถิติ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสถิติ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กองแผนงาน |
|
dc.date.accessioned |
2006-06-30T10:24:53Z |
|
dc.date.available |
2006-06-30T10:24:53Z |
|
dc.date.issued |
2526 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/615 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาสภาวะการหมุนเวียนของบุคลากรในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานทางด้านบุคลากรเพื่อประกอบการวางแผนและพัฒนามหาวิทยาลัยในอนาคต การศึกษาครอบคลุมการรับเข้า การออก ของอาจารย์และข้าราชการที่ไม่ใช่อาจารย์จำแนกตามวุฒิสูงสุด เงินเดือน และระยะเวลาการทำงานขณะที่ลาออก สาเหตุการลาออกของบุคลากร การลาศึกษาต่อ อบรม ดูงาน และการลาเพื่อไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ จำนวนอาจารย์พิเศษและอาจารย์ชาวต่างประเทศ งบประมาณที่ใช้ในการจ้างอาจารย์พิเศษและอาจารย์ชาวต่างประเทศ การเก็บรวบรวมข้อมูลทำโดยการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิอันได้แก่ รายละเอียดต่าง ๆ ของบุคลากร คำสั่งเกี่ยวกับการรับเข้า การออก การลากรณีพิเศษต่าง ๆ จำนวนอาจารย์พิเศษและอาจารย์ชาวต่างประเทศและค่าใช้จ่ายในการจ้างจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องระหว่างปี พ.ศ. 2514-2524 ได้แก่ กองทะเบีบนประวัติ กองการเจ้าหน้าที่ และงานวิจัยสถาบัน กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การวิเคราะห์ข้อมูลได้แยกการวิเคราะห์ข้อมูลออกตามประเภทของบุคลากร 5 ประเภทได้แก่ อาจารย์ประจำ ข้าราชการที่ไม่ใช่อาจารย์ รวมอาจารย์ประจำและข้าราชการที่ไม่ใช่อาจารย์ อาจารย์พิเศษ และอาจารย์ชาวต่างประเทศ ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ สามารถสรุปได้ว่า อาจารย์ประจำที่รับเข้าเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อาจารย์ประจำที่ออกเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง คณะที่มีการรับเข้าและออกของอาจารย์ประจำมากที่สุดได้แก่คณะครุศาสตร์ อาจารย์ประจำที่ออกจากราชการ ส่วนใหญ่มีวุฒิสูงสุดขณะออกจากราชการเป็นวุมิปริญญาโท มีระยะเวลาทำงานในช่วงตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปและมีเงินเดือนเมื่อออกจาการาชการอยู่ในช่วงระหว่าง 2,001-4,000 บาท อัตราการออกของอาจารย์ประจำเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 3.45 คณะที่มีอาจารย์ประจำลาไปศึกษาต่อมากที่สุดได้แก่ คณะครุศาสตร์ และคณะที่มีอาจารย์ประจำลาไปอบรม ดูงาน ภายในประเทศและต่างประเทศมากที่สุดได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลของข้าราชการที่ไม่ใช่อาจารย์ สรุปได้ว่า ข้าราชการที่ไม่ใช่อาจารย์ที่รับเข้าและลาออกเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย หน่วยงานที่มีการรับเข้าและออกของข้าราชการที่ไม่ใช่อาจารย์มากที่สุดได้แก่คณะแพทยศาสตร์ ข้าราชการที่ไม่ใช่อาจารย์ที่ออกจากราชการส่วนใหญ่มีระยะเวลาทำงานในช่วงตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปจนถึงน้อยกว่า 5 ปี และมีเงินเดือนเมื่อออกจากราชการอยู่ในช่วงเงินเดือนที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2,000 บาท อัตราการออกของข้าราชการที่ไม่ใช่อาจารย์เฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 5.98 ผลการวิเคราะห์สาเหตุการลาออกของอาจารย์ประจำและข้าราชการที่ไม่ใช่อาจารย์ พบว่าส่วนใหญ่ออกไปประกอบอาชีพอื่น ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับอาจารย์พิเศษ พบว่า คณะที่มีการจ้างอาจารย์พิเศษมากที่สุด ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย และงบประมาณที่ใช้ใน 1 ภาคการศึกษา (ภาคต้น) อยู่ระหว่าง 1.2 ถึง 1.5 ล้านบาท ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับอาจารย์ชาวต่างประเทศ พบว่า งบประมาณที่ใช้ในแต่ละปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก 3.8 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2520 เป็น 8.4 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2524 |
en |
dc.format.extent |
21522673 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย--การบริหารงานบุคคล |
en |
dc.subject |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย--คณาจารย์ |
en |
dc.subject |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย--ข้าราชการและพนักงาน |
en |
dc.title |
สภาวะการหมุนเวียนของบุคลากรในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รายงานการวิจัย |
en |
dc.type |
Technical Report |
en |
dc.email.author |
fcomcko@acc.chula.ac.th |
|
dc.email.author |
timtoytee@hotmail.com |
|
dc.email.author |
Prapaipis.M@Chula.ac.th |
|