Abstract:
เหล็กในของผึ้งประกอบด้วนส่วนแข็ง (sclerites) ประกบกันคือ lancet 1 คู่ และ stylet 1 อัน พบว่าบน lancet และ stylet มี barb เป็นเงี่ยงแหลม ๆ จากการศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอนแบบส่องกราด (scanning electron microscope) พบว่าผึ้งมิ้ม (Apis florae F.) มี lancet barbs 10 อัน stylet barbs 4-5 คู่ ผึ้งหลวง (Apis dorsata F.) มี lancet barbs 11 อัน stylet barbs 2-4 คู่ ผึ้งโพรง (Apis cerana F.) มี lancet barbs 10 อัน stylet barbs 4-5 คู่ ผึ้งพันธุ์ (Apis mellifera L.) มี lancet barbs 10 อัน stylet barbs 2-4 คู่ ซึ่งไม่พัฒนาเท่าผึ้งอีก 3 ชนิดเห็นเป็นตุ่มเล็ก ๆ เท่านั้น โดยลักษณะสัณฐานวิทยาที่ไม่เหมือนกันของเหล็กในของผึ้งทั้ง 4 ชนิดสามารถใช้เป็นลักษณะพิเศษในการแยกชนิดของผึ้งในสกุล Apis ได้ และพบว่าผึ้งโพรงในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยอาจจะแยกเป็นชนิดย่อย (subspeciec) โดยดูความแตกต่างของระยะห่างของ stylet barb อันที่ 1-4 จากปลาย stylet จากผลการศึกษาอาจจะจำแนกผึ้งโพรงจากภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเป็นชนิดย่อยที่ 1 จากภาคกลางเป็นชนิดย่อยที่ 2 และจากภาคใต้เป็นชนิดย่อยที่ 3 ทั้งนี้จะต้องศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาอื่น ๆ เช่น ปีก ขา มาเสริมด้วย